ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
ธุรกิจท่อ
- ธุรกิจการนำเที่ยว (Tour operator) หมายถึง ธุรกิจที่ทำหน้าที่จัดการนำ
เที่ยว การออกแบบโปรแก รมท่องเที่ยว จัดหามัคคุเทศก์ จัดหาที่พัก จัดการเดินทางด้วยวิธีการต่าง ๆเช่น เรือ รถไฟ บอลลูน เครื่องบิน รถยนต์ รถบ้าน จักรยานยนต์ มอเตอร์ไซค์ - ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agency) หมายถึง ธุรกิจที่มีหน้าที่จัดจำหน่
าย หรือเป็นตัวแทนจำหน่ายบริกา รด้านการท่องเที่ยว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัด การการท่องเที่ยวเอง ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการการนำเที่ยว (Tour operator) ส่วนใหญ่ ก็มีสถานะเป็นธุรกิจตัวแทนท ่องเที่ยว (Travel Agency) ด้วย - ธุรกิจขายส่งบริการท่องเที่
ยว (Travel wholeseller) หมายถึง ธุรกิจที่เป็นผู้รวบรวมสินค ้าและบริการการท่องเที่ยวจา กหลายๆ ผู้ประกอบการ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของ Travel Wholeseller จะเป็น Travel Agency มากกว่านักท่องเที่ยวโดยตรง - ธุรกิจบริหารจัดการจุดหมายป
ลายทาง (Destination management services : DMC) หมายถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่ มีบริการหลากหลายในจุดหมายป ลายทางหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมทัวร์ ที่พัก สปา การเดินทาง ร้านอาหาร โดยมีลูกค้าเป็นธุรกิจนำเที ่ยวเป็นหลัก
การสำรองตั๋วเ
เมื่อได้ทำการสำรองตั๋วเครื
ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว ที่ไม่สามารถออกตั๋วได้เอง จะเรียกว่า Non-BSP Agent ทั้งนี้ BSP Agent ยังจะเป็นผู้ออกใบราคา (Fare Sheet) ที่จะระบุราคาของตั๋วโดยสาร
หลายสายการบิน อาจจะมีการอนุญาตให้ผู้ประก
ที่มา https://www.tripspace.co/how-to-start-your-travel-business/
ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 53/2537
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสำหรับ กิจการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร
เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการตรวจและแนะนำสำหรับกรณีการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสาร ระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนของ บริษัทสายการบิน และโดยที่ตัวแทนนั้นเป็นตัวแทนของบริษัทสายการบินไม่ใช่ตัวแทนของผู้ใช้ บริการโดยสาร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจ และแนะนำดังต่อไปนี้ แยกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
ข้อ 1 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่าง ประเทศโดยอากาศยานบริษัทสายการบินต่างประเทศจะต้องนำค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร
รายได้ตามแบบ ภงด 50 : รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง
— รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร —
ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและ ในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน
— โดยไม่คำนึงว่า รายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร —
2. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย
ข้อ 2 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน
รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง
— รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่ บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คำนึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุใน ตั๋วโดยสาร
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ 3 ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่าง ประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน บริษัทสายการบินจะต้องนำ
— มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง
รายได้ที่ได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่ บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คำนึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุใน ตั๋วโดยสาร
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศ โดยอากาศยาน
มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรให้คนโดยสาร ( ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน )
ทั้งในกรณีที่ได้
1. ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและ
2. ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ 4 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ บริษัทสายการบิน โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง – ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง จากบริษัทสายการบิน
(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการ โดยสาร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร
5. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสาร
ข้อ 5 ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน
(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ บริษัทสายการบิน โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน และตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้บริษัทสายการบิน
(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง
(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ตัว แทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง จากบริษัทสายการบิน และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้ตัวแทน
(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79แห่งประมวลรัษฎากร
(1)หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการซื้อตั๋วโดยสารให้แก่คนโดยสาร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ
(2) โดยให้แยกออกจากใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือ ผู้รับบริการ สำหรับค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร โดยใบกำกับภาษีที่ตัวแทนช่วงออกเพื่อเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวจะต้อง
ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการสำหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของบริษัทสายการบินใด
(1).ใบกำกับภาษีออกเฉพาะค่าบริการโดยสาร ไม่ต้องออกค่าตั๋วเครื่องบิน กรณีได้รับการแต่งตั้ง
(2).สามารถแยกค่าบริการออกจากใบกำกับภาษีค่าตั๋วเครื่องบินที่ตัวแทนสายการบินเปิดมาให้ผู้โดยสาร
(3). ใบกำกับภาษีที่ตัวแทนช่วงออกให้ลูกค้า และต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการสำหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของบริษัทสายการบินใด
6. ในกรณีที่มีระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กำหนดให้ต้องนำใบกำกับภาษีไปใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ
ข้อ 6 ในกรณีที่มีระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กำหนดให้ต้องนำใบกำกับภาษีไปใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เช่น
(1)การตรวจสอบยัน ให้นำใบกำกับภาษีที่บริษัทสายการบินออกให้คนโดยสารหรือ ผู้รับบริการในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับ บริการโดยตรง
หรือใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยผ่านตัว แทนที่ได้รับแต่งตั้งไปใช้ดำเนินการ
สำหรับการ(2)ตรวจสอบความถูกต้องของใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ให้ทำการตรวจสอบกับหลักฐานรับเงินที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหรือตัวแทนช่วงออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ
ข้อ 7 มิให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ถึงข้อ 6 มาใช้บังคับในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับสิทธิให้ดำเนินการขายตั๋วโดยสารของ บริษัทสายการบินใดสายการบินหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวให้กับตัวแทนหรือคนโดยสาร โดยได้รับค่าบริการในอัตราที่แน่นอนตามข้อตกลงจากบริษัทสายการบิน
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
จัตุมงคล โสณกุล
อธิบดีกรมสรรพากร
ปัญหาภาษี หลักกฎหมาย สถานะต่าง ๆ ของ บริษัทร้าง
Trave Agency ค่าบริการอัตรา 0
คุณ Udomvorakulchai Sara ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษฺ์” แฟนเพจ เมื่อ 30 มกราคม 2557 เวลา 15:24 น. จากบริเวณ Bangkok ว่า
“เรียน อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอเรียนปแรึกษาเกี่ยวกับปัญ
ลักษณะกิจการ บริษัท E Holidays (Thailand) เป็นนิติบุคคล จดทะเบียนในประเทศไทย สัดส่วนการถือหุ้น ไทย 51 ออสเตรเลีย 49 ได้รับรายได้ค่าบริการจากบร
1. ประกอบกิจการเป็นตัวกลางในก
2. โดยมี website ชื่อ E holidays.com ให้บริการเฉพาะสมาชิกที่เป็
3. website E holidays.com จะมีบริการจองห้องพัก, จองรถรับส่งสนามบิน-โรงแรม-
4. website E holidays.com จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน
5. E Holidays Thailand จะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานงา
6. บริษัท E holidays ที่ออสเตรเลีย จะส่งรายชื่อ travel Agents มาให้เพื่อให้ทางบริษัทที่เ
7. บริษัทที่ประเทศไทย ไม่มีการติดต่อโดยตรงกับโรง
8. การออก Inv เรียกเก็บค่าบริการ จะต้องระบุราบละเอียดหรือไม
เรียน คุณซาร่า “Udomvorakulchai Sara”
ให้ข้อเท็จจริงไปครบถ้วนตาม
ขอเรียนว่า
1. การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ
2. ตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) กำหนดว่า
“ข้อ 3 การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชำระรา
3. เนื่องจากการให้บริการในราช
“ข้อ 4 กำหนดให้ใบกำกับภาษีของการใ
สรุป การออก Invoice เรียนเก็บค่าบริการอัตรา 0 ขึ้นอยู่กับการออกอินวอยซ์ต
กค 0706/พ./625 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยว
ข้อหารือ
1. กรณีเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก เมื่อตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก จะได้รับค่านายหน้าจากสายการบินตามอัตราของสายการบิน และผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
1.1 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินอย่างเดียว
1.2 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก
(ก) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาจากลูกค้าในราคาปกติที่ลูกค้าซื้อจากผู้ประกอบการ ส่วนที่พักคิดเป็นราคาต่อหัว
(ข) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือน (ก) ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้า ค่าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก
(ค) ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการออกจากกัน
2. กรณีจัดนำเที่ยว ผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
2.1 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และบริการนำเที่ยวออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาในราคาปกติ ที่ลูกค้าซื้อเอง และบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน
2.2 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือนข้อ 2.1 ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก ผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน และราคาที่พัก ใบเสร็จรับเงินออกในนามลูกค้า
2.3 ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกัน
3. กรณีประกาศในสื่อโฆษณา หรือในรายการทัวร์ เกี่ยวกับราคาทัวร์หรือเดินทางเป็นการเหมา โดยไม่ได้แยกชัดแจ้งค่าเดินทาง เป็นค่าตั๋วโดยสาร ค่าทัวร์ และค่าบริการเป็นเท่าไรแต่จะแยกในช่วงชำระเงิน เป็น 3 กรณี ดังนี้
3.1 แยกตั๋วโดยสาร
3.2 แยกค่าทัวร์ และบริการนำเที่ยว
3.3 (ก) แยกตั๋วโดยสาร
(ข) แยกค่าทัวร์ ได้แก่ โรงแรม รถ ขนส่ง อาหาร ในต่างประทศ และต่างประเทศออกใบเสร็จรับเงินให้โดยตรง
(ค) แยกค่าบริการนำเที่ยวบวกกำไร
แนววินิจฉัย
ภาระภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในกรณีผู้ประกอบการคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา แยกพิจารณาได้ ดังนี้
1. ตามข้อ 1 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นตัวแทนให้บริการธุรกิจนำเที่ยว กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
2. ตามข้อ 2 และข้อ 3 การประกอบกิจการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการเป็นการเหมา โดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้น จะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศการจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็น การให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการนำเที่ยวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมาหรือไม่ ให้พิจารณาสัญญาเป็นสาระสำคัญ กรณีผู้ประกอบการคิดค่าตอบแทนจากการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งส่วนที่แจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบ และส่วนที่คิดค่าบริการเป็นการเหมาหากผู้ประกอบการมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าตอบแทนส่วนใดที่ผู้ประกอบการมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าทราบ โดยแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดแจ้ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจากลูกค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเฉพาะเท่ากับที่จะต้องจ่ายจริง หรืออาจทดรองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายนั้นไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเป็นจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายไปจริง เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่เรียกเก็บจากลูกค้าเท่ากับที่ต้องจ่ายจริง โดยให้ผู้ประกอบการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินออกหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเป็นชื่อของลูกค้า และผู้ประกอบการได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ซึ่งผู้ประกอบการเรียกเก็บล่วงหน้า หรือเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
สำหรับค่าบริการส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบได้ว่า เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าใด และไม่มีหลักฐานการจ่ายมาแสดงค่าบริการส่วนอื่นดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจาก ลูกค้าต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร