บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์   ในเบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่า ธุรกิจนำเที่ยว คืออะไร เพื่อใช้ในการวางแผนภาษี ในส่วนรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามพรบธุรกิจนำเที่ยวกำหนดความหมายไว้ว่า

ธุรกิจนำเที่ยว หมายความถึง ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว หรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ( พรบ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551)

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์

ในการงานส่วนของ บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์  นั้น ทางกรมสรรพากรได้แยกกิจการนำเที่ยวออกเป็น 5 ประเภทดังนี้

1. กิจการนำเที่ยวรับเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอย่างเดียว ( In – bound Operator )

2. กิจการนำเที่ยวคนในประเทศไปยังต่างประเทศ ( Out – bound Operator )

3. กิจการนำเที่ยวภายในประเทศอย่างเดียว ( Local operator )

4. กิจการนำเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Local & World wide Operator )

5. กิจการที่ดำเนินธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ( General Travel Agent )

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว

1. Travel Agent บุคคลหรือบริษัทที่มีความสามารถจัดการนำเที่ยว การขนส่ง ที่พัก อาหาร การรับ-ส่งทั้งขาไปและขากลับ การนำสถานที่และงานอื่น ๆ ของการเดินทางซึ่งเป็นการบริการให้แก่สาธารณชน เช่น บริษัท นำเที่ยว จำกัด มีความชำนาญเบ็ดเสร็จทุกอย่าง สามารถดำเนินการเองได้

2. Tour Operator บริษัทมีความชำนาญในการจัดและดำเนินการเกี่ยวกับการ ตลาด ทางด้านการจัดการเดินทางไปพักผ่อน แบบ Inclusive Tour โดยเก็บเงินล่วงหน้าแล้วมอบให้ Travel Agent เป็นผู้ขาย แต่บางครั้งก็ลงมือขายแก่นักท่องเที่ยวโดยตรง เช่น บริษัทหรือกลุ่มคนในพื้นที่ที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับการดำน้ำ และเรือพร้อมในจังหวัดพังงา นำเที่ยวดำน้ำดูปะการังที่หมู่เกาะสิมิลัน – หมู่เกาะสุรินทร์ ก็ติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวจำกัด เป็นผู้ขายบัตรเพราะมีลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวแพร่หลายอยู่แล้ว ส่วนตนก็เป็นผู้จัดรายการรับทัวร์ชุดนี้ต่ออยู่ที่พังงา

3. Wholesaler บริษัทมีความชำนาญงานในงานเดินทาง คิดและเสนอโปรแกรมที่ จัดไว้แบบเหมาหรือจัดขึ้นตามแต่จะรับคำสั่งมาจากลูกค้าแล้วมอบให้ Travel Agent รับไปขายต่อ Wholesaler ต่างกับ Tour Operator คือ Wholesaler มักไม่เสนอรายการเดินทางต่อบริษัทนำเที่ยวบ่อย ๆ แต่ Tour Operator จะเสนอขายให้แก่ Retailer ด้วย เช่น เป็นบริษัทหรือกลุ่มคนที่ชอบการผจญภัยชุดบุกเบิก ไปเที่ยวน้ำตกทีลอแล(น้ำตกที่เลยน้ำตกทีลอซูเข้าไปในเขตพม่ามาแล้

รายได้ที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์​

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตาม

1. หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยวในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และ

2. หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/11473 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2544 เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว ดังนี้

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยว

.1. การประกอบกิจการนำเที่ยวโดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (out – bound) หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (in – bound) ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ

การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

    2. ในกรณีคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) ซึ่งค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมานั้น

สำหรับกรณี out – bound ประกอบด้วยค่าบริการในการทำหนังสือเดินทางและจัดทำวีซ่า ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าบริการนำเที่ยว รวมทั้งค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าขนส่ง ณ ต่างประเทศ และ

กรณี in – bound ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวรวมทั้งค่าขนส่งค่าอาหาร ค่าบัตรผ่านประตู ค่ามัคคุเทศก์ ค่าโรงแรมและค่าอาหารที่โรงแรม ค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินภายในประเทศ เป็นต้น

ผู้ประกอบการจะต้องนำค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมาซึ่งประกอบด้วย ค่าบริการใด ๆ ที่คิดเอาจากนักท่องเที่ยวทั้งหมดมาเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

และการให้บริการจัดนำเที่ยวดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ของค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมา ซึ่งประกอบด้วยค่าบริการใด ๆ ที่คิดจากนักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

สำหรับการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) หรือไม่ ให้พิจารณาจากสัญญาการให้บริการนำเที่ยว

    3. กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา แต่ได้มีการตกลงกับนักท่องเที่ยวโดยขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น

ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะเรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และถ้ามีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริง

ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่ง ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

และการให้บริการรับจัดนำเที่ยว ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการที่ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวเรียกเก็บ ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

(cost plus) กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ

กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ

(1) ได้มีการตกลงกับนักท่องเที่ยว โดยขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะเรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และ

(2) กรณีที่มีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และ

(3) ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริง

เช่นนี้ ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

รายได้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว

 

รายได้จากการประกอบกิจการนำเที่ยวโดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (out – bound) หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (in – bound) ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ

โดยทั่วไป การให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ ดังเช่น กรณีบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น พึงได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

แต่ได้มีข้อกำหนดไว้เป็นพิเศษว่า กรณี  การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ที่เป็นการให้บริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ดังเช่นกรณีจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และการให้บริการนำเที่ยวภายในประเทศ

การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

– เป็นบริการรับจ้างทำของ อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม /ผู้จ่ายต้องดำเนินการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย —
 
 

 รายได้ของนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมี รายได้หลักดังนี้

              1.  รายได้จาก บริการนำเที่ยว 
              2.  รายได้ค่า บริการ มัคคุเทศน์

              3.  รายได้ค่านายหน้าจาการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
              4.  รายได้ค่านายหน้าจากการจองห้องพัก จำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง
              5.  รายได้จากการจัดเตรียมเอกสาร วีซ่า หนังสือเดินทาง
              6.  รายได้ค่านายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย
              7.  รายได้จากการให้ บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (มีภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่มี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

              8.  รายได้อื่นๆ
 

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ( ภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

              1.   เงินเดือน และ ค่าตอบแทน พนักงาน สวัสดิการ เงินล่วงเวลา
              2.   ค่าเช่าอาคาร และ ค่าเช่ายานพาหนะ (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 5 )
              3.   ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 1 )
              4.   ค่าโฆษณา เผยแพระประชาสัมพันธ์ (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 2 )
              5.   ค่าทำบัญชี และ ค่าตรวจสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมธนาคาร (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 3 )
              6.   ค่าส่งเสริมการขาย และ ค่านายหน้า  (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 3 )
              7.   ภาษีอื่นๆ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ทางกฎหมายภาษี และกฎหมายอาญา