ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน มีบัญชี ภาษีเกี่ยวข้อง?

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ทั้งเบี้ยประกัน และภาษีที่กิจการออกให้ กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้

ดังนั้นการทำ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ

1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ

2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพากรยอมรับได้

หลักการปฏิบัติในการทำ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน เพื่อให้สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้ดังนี้

1. กรรมการทุกๆคน เพื่อเป็นการทั่วไป และต้องมีเบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะสมและสมควร กรรมการทุกคนต้องได้รับสิทธิโดยเท่าเทียมกัน (คือมีกี่คนต้องได้รับสิทธิเรื่องประกันชีวิตทุกคน)

2. ต้องมีการบันทึกวาระการประชุมต่างๆอย่างละเอียด มีมติที่ประชุมของบริษัทฯ และต้องมีการเขียนระเบียบการของบริษัทฯ อย่างชัดเจน

3. ต้องมีการบันทึกหลัการทางบัญชีอย่างถูกต้อง และการเก็บเอกสารอย่างครบถ้วน    

 
4. วงเงินประกันชีวิตของกรรมการแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันได้ (ระดับเดียวกันควรกำหนดวงเงินประกันเท่าเทียมกัน) วงเงินประกันชีวิตที่จ่าย ไม่ได้มีการกำหนดเบี้ยขั้นสูงว่าห้ามเกินเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามควรพิจารณาจ่ายให้เหมาะสม สอดคล้องกับรายได้ของกิจการ เพื่อไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งถึงความเหมาะสม

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน หลักการทางภาษี

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน :  ค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันภัย ภาษีที่ออกแทนให้ ผลกระทบต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผลประโยชน์จากกรมธรรม์

ค่าเบี้ยประกันภัย ในการ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี

ในความหมายของกรมสรรพากร

       เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการเพื่อสำหรับการ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกใน  การแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้ จ่ายโดยบริษัท…

ค่าเบี้ยประกัน และภาษีที่กิจการออกให้ – ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา / ภาษีเงินได้นิติบุคคล

        เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

        เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าสินไหมทดแทน / ผลประโยชน์ตามกรมกธรรม์ ที่ได้รับจาก ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน

   ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร

วิธีการบันทึกบัญชี ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน หลักการทางภาษี

วันที่ รายงานการประชุมตามมติที่ประชุม

DR. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
         CR. ค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย

วันที่จ่ายเบี้ยประกัน

DR. ค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย
         CR. เงินสด

ณ วันสิ้นปี

DR. ค่าเบี้ยประกัน
       CR. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า

คำสั่งกรมสรรพากร   ที่ ป. 96/2543

เรื่อง      การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวล            รัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

                       (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

                        (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร