รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก

รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก เพื่อให้ทาง กิจการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชีให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายในการบริการจัดทำบัญชี งบการเงิน การจัดส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ให้จบสิ้นลงอย่างเรียบร้อยถูกต้อง

งบเปล่า คือ งบที่ยังไม่ได้ทำเนินธุรกิจ หรือไม่มีกิจกรรมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพธุรกิจ
ไม่มีการดำเนินการทางธุรกิจใดๆ เช่น ไม่มีซื้อ ไม่มีรายการขาย ไม่มีรายได้ใดๆ

*ค่าบริการข้างต้นไม่รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าภาษีอากรค้างชำระ     และค่าภาษีอื่นๆ ที่กิจการเป็นผู้รับผิดชอบต้องชำระ

ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน

รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี (ปิดบริษัท เลิกกิจการ อย่างเป็นทางการ ถูกต้องตามขั้นตอนกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร) ในส่วนของขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกกิจการ มีขั้นตอน ดังนี้

การเลิก/ชำระบัญชีบริษัท/ห้างหุ้นส่วน

การจดเลิกบริษัทหรือการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีบริษัท
ในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ที่ทางสำนักงานบัญชีต้องดำเนินการให้ท่านดังนี้

การเลิกบริษัท โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น ให้ลงมติเลิกบริษัท

1. นัดประชุม ผู้ถือหุ้น + จัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท

วันที่ 1 ออกหนังสือ นัดประชุม

โดยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น

เว้นระยะเวลา 14 วันเป็นอย่างน้อย


วันที่ 15 นัดการประชุมครั้งแรก

– มีวาระพิจารณาเรื่องเลิกบริษัท
– ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องลงมติให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
– จัดทำรายงานการประชุมเลิกบริษัทปิดกิจการ

การประชุมครั้งที่สอง

– มีวาระพิจารณา 3 วาระ คือ ยืนยันมติให้เลิกบริษัทของที่ประชุมครั้งแรก แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนและแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน

– ที่ประชุมจะต้องลงมติยืนยันให้เลิกบริษัทไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนมติแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีรวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนใช้มติธรรมโดยเสียงข้างมาก

– การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่สองจะต้องห่างจากการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่เกินกว่า 6 สัปดาห์

2. จัดทำเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อไปจดทะเบียนเลิกที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

วันที่ 16-30 (ภายใน 14 วันรับแต่วันที่มีมติเลิกบริษัท เลิกกิจการ)

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท

– คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1)
– รายการจดทะเบียน (แบบ ลช 2)
– คำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (กรณีศาลสั่งให้เลิก)
– สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้งซึ่งลงมติให้เลิกบริษัท โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อรับรองความถูกต้อง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
– หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
– สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

 

คําขอจดทะเบียนเลิกและอํานาจของผู้ชําระบัญชีของบริษัท จะต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ชําระบัญชี ซึ่ง ได้แก่กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก

กรรมการทุกคนของบริษัทต้องเป็นผู้ชําระบัญชีโดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชําระบัญชีมีหลายคน ผู้ชําระบัญชีทุกคนต้องกระทําการรวมกัน

บางกรณีบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชําระบัญชีจะต้องให้

ที่ประชุมใหญผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชําระบัญชีหรือกําหนดอํานาจของผู้ชําระบัญชี

3. ผู้ชำระบัญชีต้องลงประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องที่ + ส่งหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

วันที่ 16-30 (ภายใน 14 วันรับแต่วันที่มีมติเลิกบริษัท เลิกกิจการ)

ต้องแจ้งการเลิกบริษัทให้เจ้าหนี้ทราบโดยส่งหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์และต้องจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกบริษัท

 

4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ

วันที่ 16-30 กรณีงบไม่ได้ประกอบกิจการ งบการเงิน ณ วันเลิกสามารถจัดทำให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม

จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ

5. ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา อนุมัติงบการเงิน

เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินแล้วเห็นว่าถูกต้องให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติงบการเงินและพิจารณากว่าจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นใหม่

6. ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชี

ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชีโดยรวบรวมทรัพย์สินเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น

(กรณีการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้สินให้ผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บริษัทจำกัด
ล้มละลาย)

7.จัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี

เมื่อชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี

8.ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี

เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี

อัตราค่าบริการ ของสำนักงานในการจดเลิกกิจการ และ ชำระบัญชี

สำหรับ งบเปล่า / ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราค่าบริการ  ในการ รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี  ราคา 24,999 บาท รวมงบผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ณ วันเลิกกิจการ

ชำระในวันที่ตกลงส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำเอกสาร 12,499 บาท

ชำระวันที่ที่สำนักงาน นำส่งเอกสารให้ท่านเพื่อลงนาม จำนวน 12,500 บาท

(กรณีมีงบเลิกมากกว่า 2 งบขึ้นไป ส่วนลดค่าบริการ 10 % )

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ทางกิจการผู้ชำระบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่รวมอยู่ในราคาบริการว่าจ้างดำเนินการ

* กรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) ยื่นต่อนายทะเบียน ทุกระยะ 3 เดือน

ในกรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) ยื่นต่อนายทะเบียน ทุกระยะ 3 เดือน

สรุปการประกาศลงหนังสิอพิมพ์

เลิกบริษัท (ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ 4 ครั้ง โดยครั้งที่3,4สามารถประกาศลงหนังสือพิมพ์ในคราวเดียวกัน)

  • ประชุมเลิกบริษัท ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประกาศเลิกบริษัท หลังจากจดทะเบียนเลิกแล้ว ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมเลิก หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประชุมอนุมัติงบ ณ วันเลิก ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

  1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
  2. รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)
  3. รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)
  4. งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (หรือ งบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้)
  5. รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)
  6. แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
  7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)

     กรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ก็ให้ผู้ชำระบัญชียื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน

     ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันเริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความเป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด

     สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า :
กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้า

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า :
กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงิน สำหรับ บริษัท จำกัด

กรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม

 

กรณีที่ 1 ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ (ตามตารางข้างต้น) ( บริษัท อัตราขั้นต่ำ 2,000 สูงสุด 12,000)

กรณีที่ 2 ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นํางบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่
วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอํานาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท   ( บริษัท อัตราค่าปรับ 6,000 + 6,000(จำนวนกรรมการ) ขั้นต่ำ 12,000)

กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

ค่าปรับกรมสรรพากร

กรมสรรพากรยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52/55 และยื่นบัญชีงบการเงิน

         บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52

  1. กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 1,000 บาท
  2. กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา และเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 2,000 บาท

    หมายเหตุ กรณีมีภาษีต้องชำระต้องเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ จนถึงวันที่ยื่นแบบฯ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

ไม่นำส่งงบการเงิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อยื่นงบการเงินล่าช้า

1.เสีย “ค่าปรับ” ส่งงบการเงินล่าช้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( ส่งงบการเงินล่าช้า / จัดประชุมล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน / ผู้สอบรับรองงบการเงินภายหลังวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น / ส่งรายชื่อผู้อหุ้นล่าช้า )

2.เสีย “ค่าปรับ” “เงินเพิ่ม” ที่กรมสรรพากร – ภงด 50

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ยื่นงบการเงิน

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอำนาจเรียกค่าปรับตามกฎกระทรวง (อายุความ 1 ปี)
2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ  ตามกฎหมายก่อนหมดอายุความ
3. ตำรวจท้องที่ออกหมายเรียก 2 – 3 ครั้ง
4. ตำรวจท้องที่ออกหมายจับกรณีไม่มาตามหมายเรียก  (หมายจับมีอายุความ 5 ปี)
5. ตำรวจท้องที่จับดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลแขวง

แต่หากโดนหมายเรียกแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ

1. ไปพบตำรวจ
2. ดำเนินการจ่ายค่าปรับที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. ส่งสำเนาใบเสร็จให้ตำรวจเพื่อปิดคดี (ไม่ส่งฟ้อง)
4. รีบดำเนินการปิดงบและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เรียบร้อย
5. ยื่นงบและแบบ ภ.ง.ด. 50 กับกรมสรรพากร  พร้อมชำระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม