ภ.ง.ด.50 คืออะไร
ภ.ง.ด.50 คืออะไร เช็คก่อน ยื่นงบการเงินและแบบ 2561
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
ภ.ง.ด.50 คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนยื่นแบบ
กรอกแบบ ภ.ง.ด.50 ตามคำแนะนำท้ายแบบ
ศึกษาวิธีการกรอกบแบบตามเอกสารแนบเพื่อความถูกต้อง ไม่กรอกตัวเลขสลับช่อง เช่น รายได้ทางตรง กับ รายได้อื่น ค่าบริจาค สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรอกให้ครบถ้วนถูกต้องตามปีที่ได้รับสิทธื
งบแสดงฐานะการเงิน / งบกำไรขาดทุน / งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นควรเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น
งบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) ควรเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น ถูกต้องและสอดคล้องกับข้อมูลในแบบ ภงด 50
หากมีการเปิดเผยข้อมูลไม่สอดคล้องกับ ภงด 50 อาจจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกตรวจสอบได้
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน เปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้อง เช่น ถ้ามีการกู้ยืมเงินและระบุอัตราดอกเบี้ย ควรจะต้องมีค่าใช้จ่าย / รายได้ดอกเบี้ยให้ถูกต้องสอดคล้องกับข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
การขอคืนภาษี ในแบบ ค 10 ด้านล่างแบบ ภงด 50 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน กับขั้นตอนการขอคืน
การขอคืนภาษี ในแบบค 10 ด้านล่างแบบ ภงด 50 ทาง เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะเรียกตรวจสอบข้อมูลทุกกรณี
หลีกเลี่ยงการยื่นแบบเพิ่มเติมบ่อยๆ (ทุกแบบภาษี ภงด 1 ภงด 3 ภงด 53 ภพ 30 ภงด 54 ภพ36 และอื่น)
หลีกเลี่ยงการยื่นแบบเพิ่มเติมบ่อยๆ (ทุกแบบภาษี ภงด 1 ภงด 3 ภงด 53 ภพ 30 ภงด 54 ภพ36 และอื่น) เป็นข้อสงสัยในวิธีการจัดทำบัญชี ความครบถ้วนถูกต้องของการบันทึกรายได้ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยัง รวมไปถึงการจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ สินค้าคงหลัง วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างทำ ความถูกต้องเกี่ยวข้องของบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร ของกิจการอีกด้วย
‘เงินสด’ คงเหลือมากเกินไป บ่งว่าทำบัญชี 2 ชุด / รายการบัญชีเงินฝากธนาคาร
เงินค้างในบัญชีเกินกว่าที่ควรจะเป็น มีเงินเหลือมากเกินไป ความเสี่ยงของการขายแต่ไม่แจ้งยอดรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นอกจากนี้ในรายการเงินสด กิจการควรระมัดระวังในประเด็นต่อไปนี้
1. รายการสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งมีรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ลูกหนี้เงินยืมทดรอง สินค้าคงคลัง เป็นต้น ในงบดุลไม่ได้แยกแสดงรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าฯ เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
2.รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน มีการบันทึกรายการเงินสดต้นงวด ปีปัจจุบัน ไม่ตรงกับยอดเงินสดคงเหลือปลายงวด ปีก่อน
3.งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากธนาคารในขณะที่ห้างฯมีรายได้จากการประกอบกิจการตลอดปี
4.งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากธนาคาร แต่กิจการ มีรายได้จากการประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างเฟอร์นิเจอร์จากหน่วยงานราชการซึ่งราชการจะจ่ายเงินเป็นเช็ค
5.กิจการมีรายได้จากการขายสินค้า ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นจำนวนเงินที่มีสาระสำคัญ แต่ไม่ปรากฏว่ามีบัญชีธนาคารในงบการเงิน ซึ่งไม่น่าจะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่าห้างฯ ประกอบกิจการค้าส่ง
อัตรากำไรขั้นต้นต่ำไป สูงไป หรือ ติดลบ เทียบเคียงกับกิจการกลุ่มเดียวกัน
อัตรากำไรขั้นต้นต่ำไปมักจะถูกเพ่งเล็ง ในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อคัดเลือกรายมาทำการออกหมายเรียกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาเสมอคือ ‘อัตรากำไรขั้นต้น’ โดยจะเทียบเคียงกับอัตรากำไรปีก่อนๆ ของบริษัทเอง และ/หรือเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทเดียวกัน
เจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ
- เปิดเผยรายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วนไว้ในหมายเหตุฯ ๗ แต่ในงบดุลไม่ได้อ้างถึง และรายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น ในงบดุล อ้างถึงการเปิดเผยอยู่ในหมายเหตุฯ ๗ แต่เปิดเผยอยู่ในหมายเหตุฯ ๖
2. รายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการและลูกจ้าง ปรากฏรายการอยู่ในส่วนหนี้สินหมุนเวียน แต่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ๖ แสดงเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
3. รายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงิน อ้างการเปิดเผยในหมายเหตุฯ ๘ แต่ในหมายเหตุฯ ๘ เป็นการเปิดเผยเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล และหมายเหตุฯ ไม่ปรากฏการเปิดเผยเกี่ยวกับเงินกู้ยืมดังกล่าวซึ่งเป็นภาระผูกพันและเป็นข้อมูลทางการเงิน
การแจ้งเลิก แจ้งย้าย ก็มักจะถูกตรวจสอบ
- การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงกรณีต่าง ๆเกิดขึ้น จะต้องยื่นคำขอเพื่อแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประเด็นที่มีกฎหมายลูกต้องถูกตรวจสอบเสมอ
- กฎหมายลูกคือ กฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น กิจการต้องตรวจสอบการนำมาใช้เพื่อสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีให้ถูกต้องตรงกับที่กฎหมายแจ้งไว้อย่างเคร่งครัด
บริษัทเปลี่ยนกรรมการใหม่ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ใครเป็นผู้ลงนามในงบดุล
- บริษัทเปลี่ยนกรรมการใหม่ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ใครเป็นผู้ลงนามในงบดุล
ผู้ลงนามในงบดุล คือ ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
รายได้ ค่าใช้จ่าย เกณฑ์สิทธิ์
-
รับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบบัญชี / รอบปี บันทึกอย่างถูกต้อง
การรับรู้โดยใช้เกณฑ์สิทธิ์
รหัส ISIC ค้นหาจากที่ใด ใส่เลขอย่างไร
- รหัส ISIC คืออะไร คือรหัสประเภทสินค้าและบริการ เช็คเลยว่ากิจการของเราเป็นรหัสอะไร
บริษัทไม่มีรายได้ ต้องยื่นเเบบอย่างไร
- ต้องยื่นแบบ ภงด 50 และ จัดทำงบการเงิน ไม่ว่ากิจการจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม
วันสุดท้ายในการยื่นเเบบคือวันที่เท่าไหร่ ภงด 50 2561 ยื่นแบบ 2562
- ยื่นภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 31 พฤษภาคม 2562
งบการเงิน ให้ผู้สอบบัญชี TA ตรวจสอบเเละรับรองได้หรือไม่
-
ความแตกต่างระหว่าง TA และ CPA
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรความแตกต่าง ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 1. การขึ้นทะเบียน ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯ ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 2. สิทธิในการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ปฎิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก4. การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
การนำผลขาดทุนสะสม มายื่นใช้สิทธิ มีขั้นตอน วิธีการ
-
ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
วิสัชนา ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1. ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน โดยทั่วไปผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชีและในทางภาษีอากร อย่างไรก็ตามในทางภาษีอากร ยอมให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในทางภาษีอากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร
(2) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่นับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
(3) การนำผลขาดทุนสุทธิไปถือเป็นรายจ่าย ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดขึ้นก่อน ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิเป็นปีแรกในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากปีที่มีผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว ตามหลักผลขาดทุนเกิดขึ้นก่อนให้นำมาหักก่อน (First-loss, First-use) ในกรณีที่ยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ ก็ให้นำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อไป ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น
(4) ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเท่าที่ไม่เกินกว่ากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. วิธีคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้คำนวณตั้งแต่รอบระเวลาบัญชีปีแรกที่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนดังนี้
(1) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำไรสุทธิมาตั้ง แล้วนับย้อนกลับขึ้นไป 5 ปี ก่อนปีที่มีกำไรสุทธิดังกล่าว ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย หากยังเหลือเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ มาในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ต่อไป จนกว่าจะปรากฏผลเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลกำไรสุทธินั้นไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป กรณีปรากฏผลเป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่นำผลขาดทุนสุทธิมาคำนวณหักเป็นรายจ่าย ให้หยุดคำนวณ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าว
(2) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อมามาตั้ง แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ (1) ข้างต้น
บริษัทย้ายที่อยู่ ต้องระบุที่อยู่เดิม หรือ ที่อยู่ใหม่
-
ระบุที่อยู่ใหม่ตามหนังสือรับรองฉบับปัจจุบัน
การผ่อนชำระภาษี หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ?
-
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม
งวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1
งวดที่ 3 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2
ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็น รายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
รอบการจดทะเบียนบริษัทไม่ครบปี ต้องยื่นเเบบหรือไม่ มีรายละเอียดอย่างไร
-
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้
(2) รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้ มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
(3) รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสีย ภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)
หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย กับการยื่นประกอบ
-
จัดเตรียมไว้ ณ สถานประกอบการเพื่อพร้อมส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ต้องยื่นพร้อมแบบ ภงด 50
หากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำไป มีความผิดหรือไม่ เบี้ยปรับ
-
หากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำไป มีความผิดหรือไม่ เบี้ยปรับ
หากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
การยื่นประมาณการขาดไป กับ การต้องเสียเงินเพิ่ม มีรายละเอียดอย่างไร
-
บริษัทยื่นประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 บริษัทจะยื่นแบบฯ เพิ่มเติมต้องเสียเงินเพิ่มอย่างไร
ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ชำระขาด
หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับ คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SME เป็นเท่าไหร่
-
สำหรับกรมสรรพากร ประมวลรัษฎากรไม่ได้มีคำนิยาม SMEs ไว้ว่ามีลักษณะอย่างไร แต่ได้อาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs เช่น ลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง เป็นต้น
ลักษณะ SMEs ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 และตามประมวลรัษฎากร สรุปได้ดังนี้
2. ลักษณะ SMEs ที่กรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรออกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยมีหลักเกณฑ์ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้
ลำดับที่ลักษณะ
1.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
2.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
3.เป็นกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชีได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม* การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะกำหนดหลักเกณฑ์ธุรกิจ SMEs ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ในการให้สิทธิประโยชน์นั้น ๆ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อรอบระยะเวลาบัญชี จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก หรือบริษัทฯ ที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคา ในอัตราเร่ง เป็นต้น
** รายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อรอบระยะเวลาบัญชี มีผลบังคับใช้ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2555กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
โดยในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ให้คำนวณภาษี ในอัตรา ดังนี้
กำไรสุทธิ อัตราภาษีร้อยละ
ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น
เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15
เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป 20