ค่าตอบแทนการบริหารงาน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำถาม https://www.rd.go.th/62230.html

ผู้ประกอบการ จํานวน 8 ราย ประกอบกิจการให้บริการด้านการจัดการบริหารงานให้กับ บริษัท ซ. โดยได้ทําสัญญากับ บริษัท ซ. ใช้ชื่อสัญญาว่า “สัญญา บริหารงานร้านค้า”ซึ่งผู้ประกอบการ จํานวน 8 ราย มีฐานะเป็น “ผู้ดําเนินการ” และได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารตามสัญญา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในอัตราร้อยละที่นํามาคูณตามแต่จะตกลง ขึ้นอยู่กับขนาดของการรับจ้างบริหารงานร้านค้า หักด้วยรายจ่ายที่บริษัท ซ. จ่ายไปหรือต้องเสียไปจากการดําเนินการร้านค้าหรือเกี่ยวกับการดําเนินการของร้านค้าตามที่บริษัท ซ. กําหนดตามสัญญาผู้ประกอบการทั้ง 8 ราย ต้องนํารายได้ทั้งจํานวนก่อนหักรายจ่ายมาถือเป็นรายได้ในการคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรและถือเป็นยอดขายในการยื่นแบบ ภ.พ.30 ใช่หรือไม่อย่างไร

แนววินิจฉัย ค่าตอบแทนการบริหารงาน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บริษัท ซ. สัญญาบริหารงานร้านค้า เป็นสัญญาระหว่าง บริษัท ซ. และผู้ประกอบการ ซึ่ง บริษัท ซ. ตกลงให้ ผู้ประกอบการ เป็นผู้บริหารร้านค้าของ บริษัท ซ. โดยต้องบริหารให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลักเกณฑ เงื่อนไข หรือนโยบายที่ บริษัท ซ. กําหนดอย่างเคร่งครัด และ บริษัท ซ. ตกลงจ่ายค่าตอบแทนการบริหารงานให้กับ ผู้ประกอบการ เพื่อผลสำเร็จของการบริหารร้านค้าดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทําของตามมาตรา 587แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ประกอบการต้องนำค่าตอบแทนการบริหารงานที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าวมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา65 แห่งประมวลรัษฎากร

วัตถุประสงค์หลักในการบริหารค่าตอบแทน
ให้เกิดความเป็นธรรม ในการบริหารค่าตอบแทน คำว่า ความเป็นธรรม (Equity) ถือเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นหลักที่สำคัญขององค์การ
เพื่อให้พนักงานสามารถยังชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสถานะของบุคคล
เกิดความสมดุลในฐานะของผู้ประกอบการหรือบริษัทที่จะดำเนินธุรกิจอยู่ได้
ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ความได้เปรียบในการแข่งขัน