ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วมีอะไรบ้าง ทางสำนักงานบัญชีได้จัดเตรียมเอกสารเพื่อให้บริการกับกิจการ ที่ให้ทางสำนักงานรับทำบัญชี

ความแตกต่างระหว่างบริษัท และ ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

รูปแบบ : เป็นการตกลงร่วมหุ้นทำกิจการและแบ่งกำไรกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีทั้งแบบรับผิดชอบแบบจำกัดและรับผิดชอบแบบไม่จำกัด บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียน รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือปานกลาง

สถานะภาพ : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน

การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51

 

บริษัทจำกัด

รูปแบบ : เป็นการลงทุนผ่านการซื้อหุ้นที่มูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน การรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินของมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ บริหารงานผ่านกรรมการบริษัท มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียนที่ค่อนข้างยุ่งยาก รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจดทะเบีย มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก

สถานะภาพขององค์กร : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน

การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51

ที่มา กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th 

ประเภท ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล มีดังนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล แบบ ภงด 50 / ภงด 51 (กลางปี)

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล ภาษีแรกคือ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายภาษีอากรที่ชือว่า “ประมวลรัษฎากร”

   โดยปัจจุบันผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฏากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  

สำหรับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะมี 2 แบบ ก็คือ
1. แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีสำหรับรอบลบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ 
2. แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีครึ่งปี (ยื่นประมาณการขาดเกิน 25% แก้ไขอย่างไร)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล ภาษีที่สอง คือ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบ่งได้ 2 ประเภท

  1. กิจการเป็นผู้ถูกหัก ภาษี ได้รับ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการเสียภาษี ภงด 50 ณ วันสิ้นรอบบัญชี
  2. กิจการเป็นผู้หัก ประกอบการจ่ายค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ  และกิจการต้องนำส่งภาษี โดยการยื่นแบบ ภงด 1 ภงด 3 ภงด 53 โดยแต่ละประเภทค่าใช้จ่ายจะมีอัตราการหัก ภาษี ที่แตกต่างกันดังนี้ ยื่นแบบภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

แบบฟอร์มการหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล ภาษีที่สาม คือ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต คือภาษี 1 ใน 5 ประเภทที่รัฐบาลเรียกเก็บเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ ขั้นตอนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะทำหน้าที่เก็บจากลูกค้า แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล

ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้น จากคนทำธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการประเภทต่างๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการ และผู้นำเข้า ซึ่งรวมไปถึงผู้ผลิต ผู้ให้บริการผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่างหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร

ในประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่เหลืออีก 8 ส่วนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ

        1.   การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ

        2.   การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

        3.   การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต

        4.   การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ

        5.   การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ

              ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา

        6.   การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ คือ การจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฏากร อยู่ในรูปแบบของแสตมป์ คล้ายกับแสตมป์ติดซองจดหมายนี่แหละครับ แต่ไม่เล็กเท่ากับแสตมป์ของร้านสะดวกซื้อแน่นอน สามารถหาซื้อได้ตามสำนักงานสรรพากรพื้นที่ และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา รวมถึงสำนักงานที่ดิน สำนักงานขนส่งหรือหน่วยงานราชการอื่นๆที่มีเรื่องของการทำสัญญา

บัญชีอัตราอากรแสตมป์

ความผิดในการไม่ติดอากรแสตมป์นั้น ถือเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยมีโทษ

ความรับผิดทางแพ่ง

1. ถ้าเกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ต้องเสียเงินเพิ่ม 2 เท่า หรือ 4 บาท (จำนวนที่มากกว่า)
2. ถ้าเกินกว่า 90 วัน ต้องเสียเงินเพิ่ม 5 เท่า หรือ 10 บาท (จำนวนที่มากกว่า)
3. ถ้าเจ้าพนักงานตรวจพบ ต้องเสียเงินเพิ่ม 6 เท่าหรือ 25 บาท (จำนวนที่มากกว่า)

ความรับผิดทางอาญา

1. ไม่เสีย ไม่ขีดฆ่า มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
2. แบ่งแยกมูลค่าการชำระอากร เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรแสตมป์ มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3. ไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกใบรับตามมาตรา 105 ตรี หรือไม่ออกใบรับให้ทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106 (ข้อ 2.2) หรือออกใบรับซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
4. ผู้ใดโดยตนเองหรือสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ทันทีที่รับเงิน หรือรับชำระราคาตามมาตรา 105 (ข้อ 2.1) หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า ที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
5. จงใจขัดขวางตามเจ้าพนักงาน ความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 105 ทวิ (ข้อ 3) มาตรา 105 จัตวา (ข้อ 5) หรือมาตรา 123 ทวิ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
6. ติดแสตมป์ปลอม หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้วหรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้แล้ว ปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น อัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด

การชำระภาษีป้ายจะต้องชำระเป็นประจำทุกปี โดยชำระภายในเดือนมีนาคม

ใครมีหน้าที่เสียภาษีป้าย

            ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

            ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว

ภาษีโรงเรือน

ภาษีโรงเรือน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร

 

ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วย ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีอากรที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือน และที่ดินพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 ในกรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษี ณ สำนักงานเขตที่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตั้งอยู่ เป็นต้น

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

1.1 ให้เช่า/ให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า
1.2 ใช้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น
1.3 ใช้เป็นสำนักงาน/สถานประกอบพาณิชย์
1.4 ใช้เป็นท่าเรือเมล์ เรือจ้าง
1.5 โรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง แต่ใช้ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชย์หรือไว้สินค้า/เก็บยานพาหนะเพื่อหาประโยชน์
1.6 ทำเป็นโรงเรือนหาประโยชน์ส่วนบุคคล
1.7 ใช้เพื่อหาประโยชน์อื่น เช่น สนามมวย บ่อนไก่ สนามแข่งรถ
1.8 แพ ให้ผู้อื่นอาศัย/ใช้หาประโยชน์ เช่น ประกอบการค้า ไว้สินค้า/ให้เช่า

2. ที่ดินซึ่งใช้จ่ายต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

2.1 ที่ดินซึ่งใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น สนามกอล์ฟ สนามเทนนิสลานจอดรถให้เช่า
2.2 กำหนดระยะเวลายื่นแบบเพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งทรัพย์สินอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี

1. เจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดินเป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

2. ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี

อัตราการเสียภาษีโรงเรือน

1.กรณีให้ผู้อื่นเช่า ให้ใช้อัตรา 12.5 % ต่อปี

2. กรณีที่เจ้าของทรัพย์สิน หรือ โรงเรือน นำมาทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีค่าเช่า ให้ นำเอาพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด (ตารางเมตร) ในอาคาร หรือ โรงเรือน มาคำนวณหาภาษี โดย อัตราภาษีต่อตารางเมตร ให้ทำการสอบถามไปยัง อบต. , อบจ. หรือหน่วยงานที่เรียกเก็บภาษีว่าคิด อัตราภาษีโรงเรือนต่อตารางเมตรเท่าไร เนื่องจากแต่ละพื้นที่คิดไม่เท่ากัน

กำหนดการชำระ  ต้องชำระภาษีโรงเรือน และที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี