สรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รู้อะไรจากงบการเงินที่เรานำส่งบ้าง! 2565 บัญชี​

กรรมการบริษัทผู้ลงนามในงบการเงินควรทราบอะไรบ้าง งบการเงินคือข้อมูลชุดแรก ที่สรรพากรได้รับจากเราในทุกๆ ปี

ซึ่งจะนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบที่ทางกรมสรรพากรเก็บจากแบบภาษีทุกประเภท ทั้งที่เรานำส่งและผู้อื่นนำส่งให้
ดังนั้นก่อนลงนามกรรมการควรทราบว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จะนำเสนอ  รู้เขารู้เรา ไม่พลาดภาษีแน่นอน

————————————————————————————————————————–

สรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รู้อะไรจากงบการเงินที่เรานำส่งบ้าง!​

องค์ประกอบของ งบการเงินที่จัดส่งกรมสรรพากร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้

Auditor report หรือรายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี
รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี บอกเราว่า

ฃงบการเงินที่กำลังจะอ่านนี้ ฉบับที่ท่านถืออยู่นี้ทำขึ้นถูกต้องตามหลักบัญชีไหม น่าเชื่อถือหรือมีข้อสังเกตอะไรไหม จึงต้องอ่านก่อนที่จะเข้าไปอ่านงบการเงิน

สำหรับหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี มี 4 แบบ ประกอบด้วย

แบบที่ 1 ไม่มีเงื่อนไข

หน้ารายงานแบบนี้ ผู้อ่าน ผู้ใช้งบ กรรมการบริษัทสบายใจ

หมายถึงผู้สอบบัญชีตรวจแล้วไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ โดยจะสังเกตได้ที่วรรคความเห็น ย่อหน้าที่ 2 โดยจะมีคำว่า

“ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของบริษัท กขค จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. …. และผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรใน สาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน”

แบบที่ 2 มีเงื่อนไข

หน้ารายงานแบบนี้ จะหมายถึง ผู้สอบบัญชีพบรายการในงบการเงินมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ ส่งผลต่อการพิจารณาตัวเลขในงบการเงิน (ผู้อ่านต้องระวัง กรรมการบริษัทต้องชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแน่นอน)

โดยหน้ารายงานจะมีบรรทัดที่เขียนว่า “ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข” และสามารถอ่านคำอธิบายว่า ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขด้วยเรื่องอะไร ได้ที่ ย่อหน้า “เกณฑ์ในการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข”

แบบที่ 3 งบการเงินไม่ถูกต้อง

หน้ารายงานแบบนี้ แสดงให้เห็นว่ามีอะไรบางอย่างหรือหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการแก้ไข โดยผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบนี้ เมื่อผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า แต่ละรายการหรือผลรวมหลายรายการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน

โดยที่หน้ารายงานจะมีบรรทัดที่เขียนว่า “ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง” และสามารถอ่านคำอธิบายว่า ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องด้วยเรื่องอะไร ได้ที่ ย่อหน้า “เกณฑ์ในการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง”

แบบที่ 4 ไม่แสดงความเห็น

ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เมื่อผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการแสดงความเห็น และผู้สอบบัญชีเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงตรวจไม่พบ (ถ้ามี) จะส่งผลกระทบอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน

งบการเงิน ซึ่ง

งบดุล = งบที่แสดงฐานะทางการเงินบอกความมั่งคั่ง มั่นคง

งบกำไรขาดทุนจะแสดงผลการดำเนินงานจึงบอกได้ว่า กำไรขาดทุนเกิดจากอะไร บางกิจการกำไรเกิดจากการขายทรัพย์สิน อัตราแลกเปลี่ยน

และงบกระแสเงินสดนั้นจะแสดงการเข้าออกของเงินสดของกิจการ เงินสดเป็นการดูการอยู่รอดของกิจการ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น คือ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ส่วนของเจ้าของ คือ งบที่แสดงการกระทบยอดว่าส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ต้นปี ไปจนถึงปลายปีนั้นเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอะไรบ้างเช่น การเพิ่มทุน การลดทุน กำไรสะสมของบริษัทจะเพิ่มขึ้นด้วยกำไรสุทธิ หรืออาจลดลงด้วยการจ่ายปันผล ขาดทุนสุทธิ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน บอกความโปร่งใส เพราะจะมีรายละเอียดที่ไม่ได้เขียนในงบการเงินแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินนี้

1. ภาพรวมของนโยบายทางการบัญชี
ส่วนแรกสุดของหมายเหตุประกอบงบการเงินก็คือนโยบายทางบัญชีในภาพรวมของบริษัท

2. วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
3. รายละเอียดลูกหนี้
4. รายละเอียดเจ้าหนี้

4 ข้อที่ เจ้าของกิจการ Check ความเข้าใจในงบการเงิน แบบ ภงด 50 ก่อนนำส่ง

เมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วต้องทำอะไรบ้าง

ทุนจดทะเบียนต้องนำฝากธนาคารเต็มจำนวนหรือไม่

ทุน 1 ล้านบาท ต้องนำฝากเข้าบัญชีบริษัทเต็ม 100% หรือไม่

ทุนจดทะเบียนกับทุนชำระต่างกันอย่างไร

ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ทุนชำระแล้ว 25% ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

บุคคลธรรมดาโอนย้ายกิจการมาเป็นนิติบุคคล

ต้องทำอะไร จะโดนตรวจสอบหรือไม่

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ แท็กวี่ พี่วิน grab ค่าอาหารเลี้ยงพนักงาน Lineman ค่าวัคซีน เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

บิลที่สรรพากร OK เป็นยังไง

บิลเงินสด ซื้อของผ่านไลน์ ซื้อของผ่าน Shopee lazada ทำอย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

เอกสารที่ต้องเก็บเพื่อถูกต้องนำมาใช้ทางภาษีได้

เอกสารที่ต้องเก็บมีอะไรบ้างเพื่อตรวจสอบจะได้มีนำยื่นให้ถูกต้อง

เอกสารที่ต้องส่ง สนง บัญชี รับทำบัญชี

ส่งเอกสารอย่างไรให้ สนง ได้รับครบถ้วนถูกต้อง แจ้งสนงอย่างไรเพื่อให้ตรงกับประเภทค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง

ซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ บุคคลธรรมดา นำเข้าบริษัทอย่างไร ได้หรือไม่

ซื้อรถ เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์  ตู้เก็บสินค้าจากกรรมการ บุคคลธรรมดา ร้านขายมือ 2 นำมาเป็นของบริษัทอย่างไร

กู้เงินธนาคารเพื่อนำมาใช้ในกิจการทำอย่างไร

กู้เงินธนาคาร กรรมการเป็นผู้ค้ำ หรือกรรมการกู้ยืมเงินมาเพื่อกิจการทำอย่างไรให้สรรพากร Ok

ซื้อของไม่มีบิล ต้องทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร

ใบรับรองใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร เราสอนแนะนำให้ลูกค้าทำอย่างถูกต้อง

ข้อดีของการจด VAT

มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบบริษัท ได้
ตรวจสอบบริษัทจด VAT

สรรพากรรู้รายได้เราจากไหน และจดหมายสรรพากรที่ได้ต้องทำอย่างไร

รายได้ หัก ณ ที่จ่าย เงินเข้าบัญชี มีคนแจ้งสรรพากร รายได้อะไรของเราที่สรรพากรรู้บาง