เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?
พนักงานไม่ต้องรวมเป็นรายได้ นิติบุคคลเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีอยู่หลายกรณีที่สําคัญๆ
ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ที่ได้รับ ยกเว้นภาษีมีดังนี้
- ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรือผู้รับทํางานให้ ได้จ่ายไป โดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะ ในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
- ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกําหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
- เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจําเป็นเพื่อการ เดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว
- เงินเพิ่มพิเศษประจําตําแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สําหรับ ข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
- เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
- เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทาง ราชการจ่ายให
- ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
- ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
- รางวัลสลากบํารุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบํารุงกาชาดไทย
- ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
- เงินได้จากการจําหน่าย หรือส่วนลดจากการจําหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
- ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะ กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจํานวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น