ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล รับทำบัญชี หัก ณ ที่จ่าย

ค่าเช่ารถยนต์  :    ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ VS  ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าเช่ารถยนต์

               ค่าเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มี ที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต  

              ค่าเช่ารถสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน

                 ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/แก๊ส  

                ที่ใช้เพื่อกิจการสามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากร  ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (13)

                บริษัทฯ ไม่ต้องจัดทำหลักฐานการเดินทาง  ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเช่น มีระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ และบิลค่าน้ำมันระบุชื่อ  เจ้าของรถยนต์ ทะเบียนรถยนต์

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ

               กรณีสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่ารถเป็นผู้รับภาระจ่าย  เช่น   ค่าบำรุงรักษา  ค่าเบี้ยประกันภัย  ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน    สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากรไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)

ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้เช่ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

                กรณีเช่ารถยนต์ที่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์ (ใช้รถยนต์ได้ตลอดเวลา) ถือเป็นการเช่า  ผู้เช่ารถ มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย  5% ผู้ให้เช่า

                  กรณีเช่ารถยนต์ที่ไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์ (มีกำหนดระยะเวลาการใช้รถยนต์)  ถือเป็นการใช้บริการ มีหน้าที่ หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3 %

                ตัวอย่าง   บริษัท ฯ ทำสัญญาเช่ารถยนต์   เดือนละ  10,000 บาท  เมื่อจ่ายเงินค่าเช่า  บริษัท ฯ ต้องคำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 5 %   (10,000 *5%)  จำนวน 800 บาท  พร้อมออกหนังสือรับรองภาษีหัก  ณ ที่จ่ายมอบให้ผู้รับเงินทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการเช่ารถยนต์

                ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต  เช่น รถเก๋ง  ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้   ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม  แต่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้     

                 ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต  เช่น รถตุ้  รถกระบะ  รถมอเตอร์ไซต์  รถบรรทุก

ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ รถเช่า นำมาเครดิตภาษีได้หากสาระสำคัญถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าเช่ารถยนต์ : ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา

ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา

กรณีผู้ให้เช่ารถต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  เป็นรายได้พึงประเมินมาตรา40 (5) ค่าเช่า  โดยต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภงด.94  ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภท 5,6,7, และ 8  กำหนดเวลาการยื่น  กรกฏาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น  การหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินไดุ้บุคคลธรรมดาการเช่ารถยนต์  (Car rent, Car rental) ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี

ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา

กรณีผู้ให้เช่ารถต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  เป็นรายได้พึงประเมินมาตรา40 (5) ค่าเช่า  โดยต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภงด.94  ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภท 5,6,7, และ 8  กำหนดเวลาการยื่น  กรกฏาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น  การหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินไดุ้บุคคลธรรมดาการเช่ารถยนต์  (Car rent, Car rental) ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี

ค่าเช่ารถยนต์ : ข้อหารือ

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม.04)/02

วันที่ : 4 มกราคม 2544

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อค่าเช่ารถยนต์

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1), มาตรา 82/5(6)

ข้อหารือ:

1. บริษัทฯ เช่ารถยนต์มาเพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งขณะเดียวกันก็
ใช้เพื่อกิจการของบริษัทฯ ด้วย ประโยชน์จากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งนี้ จะถือเป็นเงินได้ที่
พนักงานผู้ใช้รถยนต์ดังกล่าวจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
2. ภาษีซื้อของค่าเช่ารถยนต์ไม่สามารถเครดิตกับภาษีขายได้แต่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
ของบริษัทฯ และไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามใช่หรือไม่

แนววินิจฉัย:

1. กรณีพนักงานได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง หากเป็นการใช้ในการปฏิบัติงานเฉพาะเพื่อ
กิจการของบริษัทฯ โดยพนักงานมิได้รับประโยชน์เป็นการส่วนตัวจากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง
การได้ใช้รถยนต์ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก
การจ้างแรงงานอันจะถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานจึง
ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์ กรณีรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ไม่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่
29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 71)ฯ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 แต่ภาษีซื้อดังกล่าวไม่ต้องห้ามนำมาถือเป็นรายจ่ายใน
การคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายใน
การคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย
ภาษีซื้อที่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534

เลขตู้ : 64/30248