สินค้าฝากขาย การบันทึกบัญชี ภาษี
สินค้าฝากขาย การบันทึกบัญชี ภาษี ในการรับทำบัญชีของ สำนักงานบัญชี กลุ่มธุรกิจที่ประกอบกิจการซื้อมาขายไป จะมีการฝากขายกับห้างสรรสินค้า โรงแรม ร้านค้าต่างเพื่อเป็นการสร้างช่องทางการขายให้กว้างขวางขึ้น ดังนั้นการฝากขายสินค้า หรือ ที่เรียกว่าสินค้าฝากขาย จึงเป็นวิธีทางการตลาดที่กิจการซื้อมาขายไป นิยมใช้ในการเพิ่มยอดขาย รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่เองเพื่อตั้งวางสินค้า ในส่วนผู้รับฝากขายได้รับประโยชน์จากกำไรจากสินค้าที่ไม่ต้องลงทุนในสินค้าทั้งหมด ซึ่งจะได้รับรายได้จากการขาย เมื่อสินค้าที่รับฝากขายได้ โดยผู้ฝากขายจะให้ส่วนแบ่งแก่ผู้รับฝาก หรือผู้รับฝากบวกเพิ่มส่วนต่างรายได้ที่ต้องการเข้าไปในราคาสินค้าเอง
การฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้า ซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าทำการจำหน่ายสินค้านั้นให้ ซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย (Consignee) และผู้รับฝากขายจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า ซึ่งจะคำนวณเป็นอัตราร้อยละจากยอดขาย
สรรพากรมองสินค้าฝากขายอย่างไร
รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป – สินค้าฝากขาย การฝากขายสินค้าทางกรมสรรพากรได้ออกแนวทางในการปฎิบัติไว้ 2 แบบดังนี้
1.การฝากขายโดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน
ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ระบุไว้เป็นการทั่วไปว่า“เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเพื่อเป็นการฝากขาย” ไปให้ผู้รับฝากขาย แล้ว ถือว่า ภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว ผู้ฝากขาย มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำส่งภาษีขายแก่กรมสรรพากร ทำให้เกิดความแตกต่างในวิธีปฏิบัติทางบัญชี และภาษีอากรเกิดขึ้น
ประเด็นทางภาษี ในการรับทำบัญชี สินค้าฝากขาย
- การรับรู้รายได้ / ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี / รายได้ของกิจการ
- การจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ
ตามความหมายการขายตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้าที่ฝากขาย โดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทนนั้น
ผู้ฝากขาย ต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้รับฝากขาย ได้รับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถนำมาใช้ในการเครดิตกับภาษี
หากสินค้าที่ไปวางไว้ที่ผู้รับฝากขายยังขายไม่ได้ ก็เท่ากับ ผู้ฝากขาย ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทั้งที่ยังไม่สามารถขายสินค้าได้ขายได้ระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดื
ในบางกรณี ผู้ฝากขายอาจทำข้อตกลงกับผู้รับฝากขายว่า ทุกสิ้นเดือนจะนับยอดสินค้าคงเหลือ และปรับยอดฝากขายโดยออกใบลดหนี้ (อ่านเพิ่ม ใบลดหนี้คืออะไร)ให้ยอดขายตามใบกำกับภาษีนั้นลดลง เพื่อให้ยอดคงเหลือของสินค้าสะท้อนถึงตัวเลขสินค้าที่ขายได้จริง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ฝากขายปรับยอดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดือน ให้เป็นไปตามยอดที่สามารถขายได้จริง
สรุป
กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน – ออกใบกำกับภาษี และออกใบลดหนี้เมื่อสิ้นเดือน
กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – ออกใบส่งมอบสินค้า และไม่ยังไม่ต้องรับรู้รายได้ / ไม่ต้องรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม จนกว่าตัวแทนจะขายสินค้าได้
ในการฝากขาย กิจการอาจจะเลือกตกลงราคา / ผลประโยชน์ตามยอดขายไว้อย่างชัดเจน หรือ ขายโดยให้ผู้รับฝากบวกผลประโยชน์เพิ่มไว้เอง
ดังนั้นยอดมูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี ควรจะเป็นยอดมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด เพราะถ้ากิจการออกใบกำกับยอดที่ต่ำว่าราคาตลาดอาจมีความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีเพิ่มได้
ดังนั้นมูลค่าในใบกำกับภาษีอาจจะไม่ใช่ยอดที่กิจการเรียกเก็บจากผู้รับฝากขาย แต่เป็นยอดเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อขายสินค้าได้ทางผู้รับฝากอาจจะจ่ายเงินชำระค่าสินค้าเท่ากับมูลค่าในใบกำกับภาษี หรือ อาจจะจ่ายโดยหักส่วนลดที่กิจการได้ตกลงกันไว้แล้วก่อนหน้านี้
ผลของการรับรู้รายได้มีดังนี้
- กิจการรับรู้รายได้สูงเกินไป ถ้าช่วงคาบเกี่ยวปีจะมีผลในการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงเกินไป
- การรับรู้รายได้คลาดเคลื่อนไปจากการรับรู้รายได้ตามมาตราฐานการบัญชี
สรุป
กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน – รับรู้รายได้ตามยอดในใบกำกับภาษีซื้อควรต้องใช้ราคาตลาด
กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – รับรู้รายได้เมื่อตัวแทนขายสินค้าได้
ในการฝากขาย ตามความเป็นจริงสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขาย ดังนั้นในการตรวจนับ ดูแล สินค้ายังคงเป็นภาระของผู้ฝากขายอยู่
สรุป
กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน – กิจการผู้ฝากต้องมีการจัดทำสินค้าคงเหลือ ในส่วนสินค้าฝากขายแยกต่างหาก
กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – เป็นหน้าที่ตัวแทนในการจัดทำสินค้าคงเหลือ (ตามประกาศภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 8)
หน้าที่ของผู้ฝากขาย / ผู้รับฝากขาย
ผู้ฝากขาย
ผู้ฝากขาย
บันทึกบัญชีสินค้าฝากขายแยกต่างหากจากขายปกติระบบสินค้าแบบต่อเนื่อง
1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต สินค้า ( ราคาทุน ) xx
2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต เงินสด xx
3. เมื่อได้รับรายงานขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด xx
เครดิต ขายโดยการฝากขาย xx
หรือ
เดบิต เงินสด xx
ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
4. บันทึกต้นทุนสินค้าฝากขาย จะเป็นดังนี้
เดบิต ต้นทุนสินค้าฝากขาย xx
ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
5. บันทึกกำไรขาดทุนจากการฝากขาย จะเป็นดังนี้
กรณีกำไรจากการฝากขาย
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย xx
กรณีขาดทุนจากการฝากขาย
เดบิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
บันทึกบัญชีสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากขายปกติระบบสินค้าสิ้นงวด
1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต สินค้าส่งไปฝากขาย xx
2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต เงินสด หรือ ค่าใช้จ่าย xx
3. เมื่อได้รับรายงานขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด xx
เครดิต ขายโดยการฝากขาย xx
หรือ
เดบิต เงินสด xx
ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
4. บันทึกต้นทุนสินค้าฝากขาย จะเป็นดังนี้
เดบิต ต้นทุนสินค้าฝากขาย xx
ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
5. บันทึกโอนปิดบัญชีสินค้าส่งไปฝากขายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต สินค้าส่งไปฝากขาย xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
6. บันทึกกำไรขาดทุนจากการฝากขาย จะเป็นดังนี้
กรณีกำไรจากการฝากขาย
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย xx
กรณีขาดทุนจากการฝากขาย
เดบิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย xx
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings. You can also style every aspect of this content in the module Design settings and even apply custom CSS to this text in the module Advanced settings.
บันทึกบัญชีสินค้าฝากขายรวมกับขายปกติระบบสินค้าสิ้นงวด
1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย ผู้ฝากขายอาจทำเพียงการจดบันทึกความจำรายการส่งสินค้าไปฝากขาย โดยไม่ต้องบันทึกบัญชีหรือบันทึกรายการบัญชีระหว่างส่งสินค้าไปฝากขาย ดังต่อไปนี้ก็ได้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย xx
เครดิต สินค้าส่งไปฝากขาย xx
2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย ผู้ฝากขายจะบันทึกบัญชีเหมือนกับค่าใช้จ่ายโดยปกติของกิจการ ดังนี้
เดบิต ค่าใช้จ่าย xx
เครดิต เงินสด xx
3. เมื่อได้รับรายงานขายและเงินจากผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด xx
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ xx
ค่านายหน้า xx
เครดิต ขายสินค้า xx
หรือ
เดบิต เงินสด ( ยอดสุทธิ ) xx
เครดิต ขายสินค้า ( ยอดสุทธิ ) xx
1. เมื่อผู้รับฝากขายรับสินค้าฝากขาย
ไม่บันทึกบัญชีเพียงแต่จดบันทึกการรับฝากขายไว้เท่านั้น
2. เมื่อผู้รับฝากขายจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสดหรือค่าใช้จ่าย xx
3. เมื่อผู้รับฝากขายจ่ายค่าใช้จ่ายแทนผู้ฝากขายไปก่อน จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสด xx
4. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าที่รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสดหรือลูกหนี้ xx
เครดิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
5. เมื่อผู้รับฝากขายคิดค่านายหน้าสำหรับสินค้าที่ขายได้ จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต รายได้ค่านายหน้า xx
6. เมื่อผู้รับฝากขายส่งเงินค่าขายสินค้าหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่านายหน้าแล้ว จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสด xx
ผู้รับฝากขายอาจต้องการบันทึกรายการสินค้ารับฝากขายรวมกับการค้าปกติของกิจการผู้รับฝากขายก็ได้
การบันทึกบัญชีของผู้รับฝากขายมีดังนี้
1. เมื่อผู้รับฝากขายรับสินค้าฝากขาย
ไม่บันทึกบัญชีเพียงแต่จดบันทึกการรับฝากขายไว้เท่านั้น
2. เมื่อผู้รับฝากขายจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสดหรือค่าใช้จ่าย xx
3. เมื่อผู้รับฝากขายจ่ายค่าใช้จ่ายแทนผู้ฝากขายไปก่อน จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสด xx
4. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าที่รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด xx
เครดิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย ( สุทธิ ) xx
5. เมื่อผู้รับฝากขายคิดค่านายหน้าสำหรับสินค้าที่ขายได้ ไม่บันทึกบัญชีเพราะรวมอยู่ในกำไรแล้ว
6. เมื่อผู้รับฝากขายส่งเงินค่าขายสินค้าหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่านายหน้าแล้ว จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต รับฝากขาย – ผู้ฝากขาย xx
เครดิต เงินสด xx
กรณีที่ 1 บันทึกบัญชีการฝากขายแยกจากการขายปกติของกิจการ
ตัวอย่าง
วันที่ 5 ธันวาคม 25xx บริษัท อัญชลี จำกัด ส่งเครื่องทำน้ำอุ่นไปฝากขายร้านมารวยจำนวน 10 เครื่อง ราคาทุนเครื่องละ 3,000 บาท และตั้งราคาขายไว้เครื่องละ 6,000 บาท บริษัท อัญชลี จำกัด จ่ายค่าบรรจุหีบห่อ 1,500 บาท ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 25xx บริษัท อัญชลี จำกัด ได้รับรายงานการขายจากร้านมารวยว่า
ขายเครื่องทำอุ่นได้ 7 เครื่อง คิดค่านายหน้า 20 % ของยอดขาย ร้านมารวยจ่ายค่าขนส่ง 500 บาท
รายงานการขาย
ขายสินค้า ( 6,000 X 7 ) 42,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย : –
ค่าขนส่งสินค้า 500
ค่านายหน้า 20 % ของ 42,000 8,400 8,900 บาท
เงินสดที่ส่งมาด้วย 33,100 บาท
บริษัท อัญชลี จำกัด ผู้ฝากขายจะบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้
25xx
ธ.ค. 5 เงินสด 33,100
ฝากขาย – ร้านมารวย (ค่าขนส่ง) 500
ค่านายหน้า – ร้านมารวย 8,400
ฝากขาย – ร้านมารวย ( 6,000X7 ) 42,000
บันทึกการขายโดยการฝากขายจากรายงานขาย
…………………………………..
ต้นทุนสินค้าฝากขาย ( 3,000X7 ) 21,000
ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย 1,400
ฝากขาย – ร้านมารวย 22,400
บันทึกต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการฝากขาย
……………………………………
การคำนวณการปันส่วนค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่าย : –
ค่าขนส่ง – ผู้รับฝากขาย ( ร้านมารวย ) 500 บาท
ค่าบรรจุหีบห่อ – ผู้ฝากขาย ( บริษัท อัญชลี จำกัด ) 1,500 บาท
รวม 2,000 บาท
เครื่องทำน้ำอุ่นที่ขายได้ 7 เครื่อง ได้รับปันส่วน = 2,000 X 7/10 = 1,400 บาท
เครื่องทำน้ำอุ่นที่เหลือ 3 เครื่อง ได้รับปันส่วน = 2,000 X 3/10 = 600 บาท
รายการข้างต้นจะใช้ได้ทั้งกรณีที่ผู้ฝากขายใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่องและวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าสิ้นงวด
กรณีที่ 2 บันทึกบัญชีการฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการ
การบันทึกรายการขายสินค้าฝากขายได้บางส่วนและกิจการการบันทึกบัญชีการฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการจะเป็นดังนี้
ว.ด.ป. |
รายการ |
วิธีบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง |
วิธีบัญชีสินค้าสิ้นงวด |
25xx ธ.ค. 15 |
เมื่อส่งสินค้าไปฝากขาย |
ฝากขาย-ร้านมารวย 30,000 สินค้า(3,000X10) 30,000 |
ฝากขาย-ร้านมารวย 30,000 สินค้าส่งไปฝากขาย 30,000 |
|
เมื่อจ่ายค่าบรรจุหีบห่อ |
ไม่ต้องบันทึกบัญชีเพราะบันทึกรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว |
ไม่ต้องบันทึกบัญชี |
19 |
บันทึกรายงานการฝากขาย
|
เงินสด 33,100 ค่าขนส่ง 500 ค่านายหน้า 8,400 ขายสินค้า(6,000X7) 42,000
|
เงินสด 33,100 ค่าขนส่ง 500 ค่านายหน้า 8,400 ขายสินค้า(6,000X7) 42,000
|
|
บันทึกต้นทุนขาย |
ต้นทุนขาย 21,000 ฝากขาย-ร้านมารวย 21,000 |
ไม่ต้องบันทึกบัญชี |
|
กลับรายการความจำสำหรับสินค้าส่งไปฝากขาย |
ไม่ต้องบันทึกบัญชี |
สินค้าส่งไปฝากขาย 21,000 ฝากขาย-ร้านมารวย 21,000 |