ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้??

ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้??

                  บริษัทได้รับ ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน และนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้ จะมีความผิด และวิธีการแก้ไขอย่างไรทั้งกรณีผู้ซื้อและผู้ขาย

ขั้นตอนแรกเมื่อได้รับ ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ผู้รับต้องตรวจสอบความครบด้วนถูกต้องของข้อมูลในใบกำกับภาษีดังนี้

สำหรับใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้

  1. เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี” ชัดเจน
  2. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
  3. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
  4. เลขที่ใบกำกับภาษี
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงิน
  6. แยกแสดงจำนวน VAT ชัดเจน
  7. วัน เดือน ปี ที่ออก
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ
    8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…..” ของผู้ขาย
    8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…” ของผู้ซื้อ
    8.4 ทะเบียนรถ (ใบกำกับภาษี ค่านำ้มัน)


ขั้นตอนที่สอง คือ การพิจารณาว่าเป็นค่าใช้จ่าย ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน  ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อกิจการหรือไม่อย่างไร ดังนี้

รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ

รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ

รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และพิสูจน์ได้ว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะจ่ายรายการรายจ่ายนั้น

รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และพิสูจน์ได้ว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะจ่ายรายการรายจ่ายนั้น

รายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้

รายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบสั่งของ ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น สำหรับในบางกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงิน หรือค่าตอบแทนอย่างอื่น แต่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้น เช่น กรณีภัยพิบัติต่างๆ อุบัติเหตุ การฉ้อโกง การลักขโมย ฯลฯ กิจการต้องแสวงหาหลักฐานที่จะสนับสนุนรายการรายจ่ายดังกล่าว เช่น หลักฐานการแจ้งความลงบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพถ่าย ข่าวสารหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

รายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไป

รายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไปที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มิฉะนั้น อาจถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

รายจ่ายในการดำเนินงานเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี

รายจ่ายในการดำเนินงานเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้

ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี

ม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

ได้แก่

รายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นปกติธุระในการดำเนินกิจการทั่วไป ที่มีที่มาที่ไป หรือเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่ายรายจ่ายรายการนั้น

เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำพนักงานของบริษัท ไปทัศนาจรเป็นการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยจัดเป็นคณะมิใช่เจาะจงเป็นการเฉพาะราย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทโดยตรง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

— สวัสดิการพนักงานให้กับพนักงานทุกคนไม่เลือกปฏิบัติ ถือเป็นค่าใช้จ่ายกิจการ และเป็นรายได้พนักงาน —

การนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการของบริษัท โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่บริษัท ต้องออกค่าซ่อมแซม ออกอะไหล่และส่วนประกอบ หรือออกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออื่นๆ โดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น  รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

— ต้องมีการจัดทำหนังสือรับรองจากกรรมการ เพื่อรับรองการนำรถ / สินทรัพย์มาใช้งาน และเป็นการนำมาใช้งานเพื่อกิจการ มิใช่เพื่อการส่วนตัว  ในกรณีที่มีการใช้งานส่วนตัวทาง จนท สรรพากร สามารถบวกกลับค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามได้–


รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการกับพวก กรณีไม่มีรายงานการประชุมที่อนุมัติให้เดินทาง และเมื่อเดินทางกลับมาก็ไม่มีรายละเอียดรายงานการเดินทางและไม่มีเอกสารอื่นใดเป็นหลักฐานว่าเดินทางไปในกิจการ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัว และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3)(13) แห่งประมวลรัษฎากร (คำพิพากษาฎีกา ที่ 2951/2527) 

— จัดทำใบอนุมัติเดินทาง พร้อมระยะทาง หาข้อมูลจาก Google Map นำมาบันทึกลงรายงานการเดินทางและเบิกค่าใช้จ่ายตามระยะทางเป็นกิโลเมตร ตามอัตราที่ทางราชการกำหนดไว้  สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการ และไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และรายได้ส่วนตัวกรรมการ —

ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน

ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ทางกรมสรรพากรได้ให้วิธีการเก็บรักษาเอกสารและแนวทางในการขอใบแทนดังนี้

ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้

บริษัทได้รับใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน และนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้ จะมีความผิด และวิธีการแก้ไขอย่างไรทั้งกรณีผู้ซื้อและผู้ขาย

ใบกำกับภาษีดังกล่าวขณะที่มีข้อความถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร มีสิทธินำไปเป็นภาษีซื้อได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าข้อความในใบกำกับภาษีดังกล่าวจางหายไปจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ ย่อมไม่เป็นใบกำกับภาษีอีกต่อไป จะมีความผิดดังนี้  

          1. กรณีผู้ซื้อ ถือว่าไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ ทำให้การยื่นแบบ ภ.พ.30 ในเดือนภาษีที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง และมีจำนวนภาษีซื้อแสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป และเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อน และยังมีความผิดในกรณีมิได้เก็บใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษีในการคำนวณภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนภาษีที่นำมาเครดิต ตามมาตรา 89(3)(4) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร 

          2. กรณีผู้ขาย ถือว่ามิได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี และกรณีมิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับภาษีขายไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86มาตรา 89(5) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร

              ส่วนวิธีการแก้ไข ผู้ซื้ออาจขอให้ผู้ขายออกใบแทนใบกำกับภาษีที่ชำรุดได้ ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36)

เลขเรื่อง 408606
กค 0706/พ./7761 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน

  บริษัท อ. จำกัด ได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการบางรายซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อน บริษัทฯ ได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เมื่อพ้นระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ได้พบว่า ข้อความในใบกำกับภาษีหมึกพิมพ์เลือน บางฉบับข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ปัญหาดังกล่าวจะมีผลต่อการบันทึกรายงานและการจัดเก็บเอกสารทางการบัญชีหรือไม่ ดังนี้

        1. บริษัทฯ ในฐานะผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในการบันทึกรายงานได้หรือไม่ และต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อพบว่า ไม่สามารถอ่านข้อความได้
        2. บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีโดยใช้เครื่องพิมพ์ระบบความร้อนดังกล่าวได้หรือไม่ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร แตกต่างจากการออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษทั่วไปหรือไม่

1. กรณีบริษัทฯ นำใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยระบบกระดาษความร้อนไปใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีหรือส่งมอบให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบในขณะที่มีข้อความถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าข้อความในใบกำกับภาษีจางหายไปจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ย่อมไม่เป็น ใบกำกับภาษีอีกต่อไป บริษัทฯ จะมีความผิดดังนี้

            1.1 ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ กรณีไม่สามารถส่งมอบใบกำกับภาษีซื้อให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ ถือว่าเป็นกรณีไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่า มีการชำระภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ในการยื่นแบบ ภ.พ.30 จึงถือว่าเป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป และเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนและยังมีความผิดในกรณีมิได้เก็บใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษีในการคำนวณภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีที่นำมาเครดิต ทั้งนี้ ตามมาตรา 89(3)(4) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร

            1.2 ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ กรณีไม่สามารถส่งมอบสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับภาษีขาย ให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ ถือว่า เป็นกรณีผู้ประกอบการมิได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี และกรณีมิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับภาษีขายไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 86 มาตรา 89(5) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร

        2. กรณีใบกำกับภาษีที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบกระดาษความร้อนและข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ่านได้นั้น ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการอาจร้องขอให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีออกใบแทนใบกำกับภาษีที่ชำรุดได้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535

 

ใบแทน ใบกำกับภาษีกระดาษความร้อน เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

Inbox: พฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:04 น.

คุณ Raweewan Yoosuk

สวัสดีค่ะ อาจารย์ 

รบกวนสอบถามเรื่อง ใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษความร้อนค่ะ อ่าน กค.0706/พ./7761 แล้วค่ะเข้าใจแต่พอไปคุยกับผู้ขายที่ออกใบกำกับภาษีดังกล่าวมาให้ เขากลับบอกว่าของเขาถูกต้องเป็นต้นฉบับใบกำกับภาษี และมีแค่อย่างนี้ (กระดาษความร้อน) ถ้าจะเอาใบแทนเขาให้ได้เพียงแค่ถ่ายเอกสารค่ะ ขอปรึกษาอาจารย์ค่ะ ว่าถ้าเป็นใบกำกับภาษีแล้วเป็นตัวถ่ายเอกสารจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษความร้อนใช้ได้หรือไม่ค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ดังต่อไปนี้

…ข้อ 2 การออกใบแทนดังกล่าวให้กระทำโดยใช้วิธีถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ และให้บันทึกรายการดังต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว
……..(1) ใบแทนออกให้ครั้งที่
……..(2) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
……..(3) คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
……..(4) ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า 
ใบแทนใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/12 แห่งประมวสลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ถือเสมือนเป็นต้นฉบับใบกำกับภาษี จึงสามารถใช้ภาษีซื้อตามใบแทนใบกำกับภาษีดังกล่าวได้