ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน อ่านข้อหารือเกี่ยวกับการจัดงานปีใหม่ เป็น ค่าใช้จ่ายกิจการ รายได้พนักงานหรือไม่

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ประโยชน์เพิ่ม ที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

                       ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน  ในแง่ของกฎหมายภาษีอากรแล้ว บรรดาประโยชน์เพิ่มหรือสวัสดิการที่พนักงานได้รับจากนายจ้าง อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานและต้องนำไปรวมเสียภาษีกับสินจ้างพวก เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 29 ที่ระบุว่า

เงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน” โดยพิจารณาได้จากประเภทขอเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

สวัสดิการบางประเภทที่พนักงาน ที่กิจการบันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งพนักงาน ได้รับจากกิจการอาจจะไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

1. เป็นการปฎิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจจะแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้นเดียวกัน  เงื่อนไขนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัท / กิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติ ไม่ได้ให้เป็นการส่วนตัว(ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม)

2. สวัสดิการบางอย่างต้องมีระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน พนักงานรับรู้กันทุกคน

3. ผลประโยชน์ให้พนักงานบางกรณีต้องมีการทำหนังสือรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจากกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารประกอบชัดเจน ถูกต้อง พร้อมทั้งเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตรงตามที่ได้รับการอนุมัติ

กล่าวโดยสรุปรายจ่าย ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ที่เรียกกันว่า ค่าสวัสดิการ หากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อมถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรแต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ข้อ 2  ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ 
                                         (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย 
                                         (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

                                      “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก
                                      “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2537) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป)

 “(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

                                      (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
                                      (ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
                                       ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)