ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน และภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ สรุปความแตกต่าง

ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน และภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ (ภาษีซื้อห้ามขอคืน)  คืออะไร

ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน     คือ   ภาษีซื้อที่ขอคืนได้ แต่ไม่ใช้สิทธิในการขอคืน ไม่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ : ได้รับใบกำกับภาษีเรียบร้อยครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ไม่นำมาขอคืนภาษีซื้อภายใน 6 เดือน (วิธีการนับอายุใบกำกับภาษี  6 เดือน )


ภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ /ภาษีซื้อห้ามขอคืน 
/ภาษีซื้อไม่มีสิทธิ์ขอคืน /ภาษีซื้อต้องห้าม
 -สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ เต็มจำนวน

ภาษีซื้อจากรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม หรือ ค่าใช้จ่ายบวกกลับทั้ง ค่าใช้จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายนั้นๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม [ บทความ ]

ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน และภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ /ภาษีซื้อไม่มีสิทธิ์ขอคืน /ภาษีซื้อต้องห้าม
มีลักษณะอย่างไร

1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ 

เช่น ใบกำกับภาษีหาย  ข้อความสูญหาย ไม่มีใบกำกับภาษี

2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด – อ่านต่อ ใบกำกับภาษี

  • ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
  • มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีซื้อที่นําามาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิด จากรายจ่ายเพื่อกิจการหรือเพื่อหากําาไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากําาไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกําากับภาษีนั้นจะมีรายการครบ ถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม

4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา

             ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทํานองเดียวกันที่ไม่ให้นําามาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

           (1)  ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแกบุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอําานวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทํานองเดียวกัน

            (2)  ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น

5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ได้แก่ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ได้แก่
  • ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่ เกี่ยวข้อง
  • ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  • ภาษีซื้อตาม ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่ งประมวล รัษฎากร ซึ่งรายการใน ใบกำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำ ขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำ ใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
  • ภาษีซื้อตามใบกำ กับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่ งประมวล รัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้ องห้ าม แต่ไม่รวมถึงใบกำ กับภาษีที่ได้จัดทำ รวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำ เนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
  • ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูก เปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่ รายการซึ่งได้ ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
  • ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัด ทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำ ใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน และภาษีซื้อขอคืนไม่ได้

ภาษีซื้อที่ไม่ขอคืน และภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขอภาษีซื้อตลอดจนหลักฐานในใบกำกับภาษีซื้อที่จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรตรวจสอบได้ และเมื่อมีใบกำกับภาษีซื้อเกิดขึ้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นที่ภาษีซื้อบางประเภทอาจไม่สิทธิขอคืนก็ได้

ใบกำกับภาษี ที่พิมพ์จากเครื่องความร้อน หรือ ข้อความในใบกำกับภาษีสูญหาย จะถือว่าเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่สมบูรณ์ ทางเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินเป็น ภาษีซื้อต้องห้าม กิจการแก้ไขโดย สแกนเก็บไว้ การถ่ายเอกสารถือว่าเอกสารฉบับนั้นเป็นสำเนา ไม่ใช่ต้นฉบับ หรือ ขอให้คู่ค้าออกฉบับใบแทนต้นฉบับให้เพื่อใช้ในการยืนยันกับเจ้าหน้าที่

ภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่ให้นํามาหัก
เป็นรายจ่ายในการคําานวณกําาไรสุทธิ

1. ไม่มีใบกํากับภาษี ใบกํากับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกําากับภาษีได้ว่ามีการชําาระภาษีซื้อ

2. ใบกํากับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสําาคัญ

3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ

4. ภาษีซื้อตามใบกําากับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกําากับภาษี

ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนํามาหักเป็น
รายจ่ายในการคําานวณกําาไรสุทธ

บริษัททหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนําาภาษีซื้อต้องห้ามมาหักเป็นรายจ่ายในการคําานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

ภาษีซื้อค่ารับรองที่มีลักษณะ ดังนี้

      (1) ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอําานวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทําานองเดียวกัน

      (2) ค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น

 

ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่สามารถนําามาหักเป็นรายจ่ายในการคําานวณกําาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี

       (1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร — บังคับเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง

      (2) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ

      (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ  ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

      (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนําามาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

      (5) ภาษีซื้อตามใบกําากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกํากับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทําาขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกําากับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

      (6) ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนดในใบกํากับภาษีที่ไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

      (7) ภาษีซื้อตามใบกําากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกําากับภาษีเป็นสําาเนา (Copy)

แต่ไม่รวมถึงใบกําากับภาษีที่จัดทํารวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจําานวนหลายฉบับ และใบกําากับภาษีมีรายการในใบกําากับภาษีเป็นสําเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย

      (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คําานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร– การเฉลี่ยภาษีซื้อ ในกิจการที่มีรายการขาย / บริการ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

      (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนําไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือก  ไม่นําภาษีซื้อ ทั้งหมดไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม  เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด

      (10) ภาษีซื้อตามใบกําากับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําาหนด  – มีการแก้ไขในส่วนสาระสำคัญของใบกำกับภาษีเช่น ชื่อ ที่อยู่ รายการสินค้า

      (11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจกาประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง ได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร

      – เปลี่ยนรถจากเกิน 10 นั่ง เป็นไม่เกิน 10 ที่นั่งภายใน 3 ปี นับแต่ได้รถมา ต้องคืนภาษีซื้อ พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มทั้งหมด –

      (12) ภาษีซื้อตามใบกําากับภาษีเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจําาตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทําาใบกําากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

     

สรุปค่าใช้จ่าย เพื่อประเมิน ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อขอคืนได้ ภาษีซื้อไม่ขอคืน Click

สรุปภาษีซื้อต้องห้าม

ปัญหา ขอคืนได้/เครดิตได้ ห้ามขอคืนแต่เป็นค่าใช้จ่ายได้ ห้ามขอคืนและห้ามเป็นค่าใช้จ่าย หมายเหตุ
1.ใบกำกับภาษี        
1.1 ได้รับใบกำกับภาษีในเดือน
ภาษีอื่น แต่ไม่เกิน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี
      กค 0811/ว.5254
ลว. 1 พ.ต.41 
1.2 ใบกำกับภาษีที่พิสูจน์ได้ว่าได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว        กค 0811/105
ลว. 1 มิย.41
1.3 ใบเสร็จรับเงินศุลกากรระบุเดือนมีนาคม ได้รับในเดือนเมษายน        กค 0811/2619
ลว. 23 มีค.42
1.4 ใบกำกับภาษีเป็นชื่อบริษัทแต่ค่าใช้จ่ายในใบกำกับได้รวมของบริษัทในเครือ        กคค 0802/พ.3205
ลว. 26 ก.พ.39
1.5   ใบกำกับภาษี ไม่มีคำว่า” มหาชน”       กค 0802/พ.4575
ลว. 21 มี.ค. 39
1.6  บริษัทเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ได้รับใบกำกับภาษี  เป็นชื่อเดิม        กค 0802/พ.4945
ลว. 27 มี.ค. 39 
1.7  ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้า  น้ำประปาเป็นชื่อของผู้ให้เช่า    
       แต่ผู้เช่าเป็นผู้จ่าย    
      กค 0802/พ.9826
ลว. 21มิ.ย. 2539
1.8  ใบกำกับภาษีใช้อักษร        ย่อ “Ltd.”           กค 0802/พ.334
ลว. 9 ม.ค. 39
1.9   ใบกำกับภาษีมีรายการ   มากกว่ากฎหมายกำหนด            กค 0802/พ.5358
ลว. 3 เม.ย. 39
มาตรา 86/4    
1.10  คำว่า”ใบกำกับภาษี”ไม่ได้ตีพิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำด้วย  ระบบคอมพิวเตอร์           กค 0802/พ.5984
ลว. 17 เม.ย 39 
1.11 ใบกำกับภาษีเป็นเอกสาร ฉบับแรก แต่มีคำว่า  “เอกสารออกเป็นชุด”         กค 0802/พ.8228
ลว. 27 พ.ค.39 
1.12 ใบกำกับภาษีระบุสถานที่ก่อสร้าง          กค 0811/0026
ลว. 3 ม.ค. 40
1.13 ใบกำกับภาษีแก้ไขรายการราคาต่อหน่วย           กค 0811/พ.08488
ลว. 11 มิ.ย. 41
1.14 ใบกำกับภาษีระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด”          กค 0811/พ.519
ลว. 12 เม.ย. 42
 1.15 ใบกำกับภาษีไม่ระบุ คำว่า “แขวง”       กค 0811/พ.05369
ลว.  8 มิ.ย. 42
 1.16 ใบกำกับภาษีระบุที่อยู่ผู้ซื้อ ไม่ถูกต้องจากเลขที่ 33/48 เป็น 33/45       กค 0811/พ.1131
ลว. 9 ส.ค. 42 
 1.17 ใบกำกับภาษีระบุชื่อผู้ซื้อว่า “ประเทศไทย”แต่ไประบุว่า”Thailand”       กค 0811/2154
ลว. 20 มี.ค. 43 
 1.18 พิมพ์แก้ไขเลขที่รหัสสาขา       กค 0811/พ.5045
ลว. 19 มิ.ย. 43 
 1.19 ใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ กรอกด้วยคอมพิวเตอร์
           แต่วันที่เขียนด้วยหมึก
      กค 0811/พ.6195
ลว. 27 ก.ค. 43 
 1.20 ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 ออกด้วยเครื่องบันทึก การเก็บเงิน
          หากรายการ ตามมาตรา 86/4(1)และ(2) ได้พิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบ       คอมพิวเตอร์
      กค 0811/พ.05488
ลว. 7 พ.ค. 41 
 1.21 ไม่มีคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ และ ไม่มีลายเซ็นต์ผู้มอบอำนาจ       กค 0811/พ.05488
ลว. 7 พ.ค. 41 
 1.22 ใบกำกับภาษีที่ได้รับไม่เกิน 6 เดือน
นับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ ออกใบกำกับภาษี
      กค 0811/พ.4278
ลว. 4 พ.ค. 41 
 1.23 คำว่า”ใบกำกับภาษี”และชื่อที่อยู่ของผู้ออก ใบกำกับภาษี
ไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์
       กค 0811/พ.6195
ลว. 27 ก.ค. 43
 1.24 ใบกำกับภาษีเงินทดรองจ่าย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายของตนเองและ
บริษัทในเครือ
      กค 0811/14064
ลว. 15 ต.ค. 40 
 1.25 ใบกำกับภาษีไม่ระบุ “แลขประจำตัวผู้เสียภาษี”       กค 0811/พ.09115
ลว. 25 มิ.ย. 41 
 2. สวัสดิการพนักงาน        
 2.1 เครื่องแบบพนักงาน       กฎกระทรวงฉบับที่126  
 2.2 จัดให้มีอาหารเครื่องดื่มฟรี       ประกาศฯ ฉบับที่ 40 
 2.3 เลี้ยงปีใหม่พนักงานประจำปี        
 2.4 ให้รางวัลแก่ลูกจ้างดีเด่น        
 2.5 ค่าสมาชิกกอล์ฟ ของนิติบุคคล แต่ผู้บริหารนำไปเล่น        
 2.6 บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ให้กับรถยนต์พนักงาน        
 2.7 พนักงานป่วยบริษัทซื้อกระเช้าไปเยี่ยมพนักงาน        
 2.8 ซื้อของขวัญให้แก่พนักงาน       กค 0811/พ.1161
ลว. 19 ส.ค. 45 
 3. ส่งเสริมการขาย        
 3.1 ค่าใช้จ่ายในการสาธิตสินค้า เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร       กค 0811/904
ลว. 14 พ.ค. 41 
 3.2 ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า       กค 0811/พ.6945
ลว. 25 ธ.ค. 39 
 3.3 ได้รับเงินสนับสนุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทในเครือนำไปจ่าค่าใช้จ่ายต่างๆ       กค 0802/พ.5985
ลว. 17 เม.ย. 39 
 3.4 นำสินค้ามาแลก หรือ แจกลูกค้า       กค 0811/พ.09897
ลว 29 มิ.ย. 41 
 3.5 แจกตั๋วเครื่องบินให้ลูกค้าที่ขายตามเป้า       กค 0811/พ.11028
ลว. 22 ก.ค. 41 
 3.6 นำรถยนต์นั่งมาเป็นรถยนต์สาธิต       กค 0811/พ.11382
ลว. 29 ก.ค. 41 
 3.7 ซื้อสินค้ามาแถมให้กับลูกค้า       กค 0811/652
ลว. 7 ธ.ค. 44 
 3.8 ค่าใช้จ่ายในการจัดประกวด ปรุงอาหาร       กค 0706/238
ลว.24 ก.พ. 46 
 4. รถยนต์นั่ง        
4.1  ประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์นั่ง  ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่ง        กค 0811/735
ลว. 26 ม.ค. 42 
4.2  ซื้อรถยนต์กระบะ       กค.0811/พ.2830
ลว. 17 มี.ค. 40 
4.3  ค่าน้ำมันรถกระบะ        กค 0811/พ.02340
ลว. 24 ก.พ. 41
4.4  ค่าทางด่วน/บัตรทางด่วนของรถยนต์นั่ง        กค 0809/1331
ลว. 18 ต.ค. 42 
4.5  ค่าเช่ารถตู้ที่มีที่นั่งเกิน 10  คน         กค 0706/7994
ลว. 25 ส.ค. 47
4.6  ค่าเช่ารถยนต์กระบะและสแปซแคป        กค 0811/พ.02340
ลว. 24 ก.พ. 41 
4.7  ค่าบัตรทางด่วน (expressway)         กค 0809/1331
ลว. 18 ต.ค. 42
5. ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและค่าใช้จ่ายอื่น         
5.1  ค่าติดตั้งระบบงานสาธารณูปโภค  ซึ่งเป็นต้นทุนทางตรงของงานบริการ        กค 0811/พ.12706
ลว. 22 ส.ค. 41 
5.2  ค่าที่พัก อาหาร  ของพนักงานที่บริษัทมอบหมายให้ไปปฎิบัติงานต่างจังหวัด        กค 0802/พ.1558
ลว. 29 ม.ค. 39 
 5.3 ให้เช่าเฟอร์นิเจอร์  โคมไฟ  หลอดไฟ  เครื่องโทรศัพท์  เครื่องปรับอากาศ
       ลิฟต์  ทีวี  ตู้เย็น  เตียงนอน   ไฟฟ้า  ฯลฯ
      กค 0802/พ.3379
ลว. 28 ก.พ. 39 
5.4  ค่าก่อสร้างอาคารให้เช่า        กค 0802/พ.7864
ลว. 22 พ.ค. 39 
5.5  ค่าก่อสร้างอาคาร แล้วยกให้แก่ผู้ให้เช่ที่ดิน        กค 0802/พ.7865
ลว. 22 พ.ค. 39
5.6  การให้บริการเช่าเครื่องบินเหมาลำ         กค 0811/พ.5062
ลว.13 พ.ย. 39
 5.7  เงินทดรองจ่ายแทนบริษัทในเครือ        กค 0811/พ.14064
ลว. 1 ต.ค. 40 
5.8  ค่าธรรมเนียมการจำหน่ายหุ้น  และค่าใช้จ่ายในการระดมทุน        กค 0811/พ.9719
ลว. 10 ต.ค. 41 
5.9 ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้าง  สถานีบริการน้ำมัน         กค 0811/12984
ลว. 3 ก.ย. 41
5.10 ค่าก่อสร้างระบบบริการส่วนกลาง  เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบรักษาความ-
 ปลอดภัย  ระบบสุขาภิบาล  ระบบปรับอากาศ 
       กค 0811/2460
ลว. 28 มี.ค. 43 
5.11 ค่าก่อสร้างสนามกอล์ฟและอาคาร        กค 0811/พ.4559
ลว. 6 มิ.ย.  43 
5.12 ค่าซื้อเนกไท  ไวน์  เป็นค่าตอยแทนวิทยากร        กค 0706/พ.12205
ลว. 4 ธ.ค. 46 
5.13 ค่าก่อสร้างอาคารจอดรถ  แบบกำหนดที่และไม่ต้องเสียค่าเช่าที่จอดรถ 
จัดให้รถจอดบนอาคารที่เช่า
      กค 0811/พ.14375 
ลว. 20  ต.ค. 41
5.14 ติดตั้งลิฟตืเพื่อใช้กับกิจการ ให้เช่าอพาร์ตเม้นต์ใช้ในกิจการยกเว้นภาษี- มูลค่าเพิ่ม       กค 0706/พ.10782 
ลว.7 พ.ย. 46 
5.15 ค่าธรรมเนียมในการยืมใบหุ้น ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูกิจการ ค่าที่ปรึกษากฎหมาย ค่าแปลเอกสารของกิจการ ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูล่าเพิ่ม       กค 0706/พ.8318
ลว.7 ก.ย.47
6. การนำเข้าและส่งออก                
6.1 ภาษีซื้อจากการนำเข้าเครื่องจักรเมื่อผ่านพิธีการศุลกากร       กค 0811/พ.6127
ลว. 26 ก.ค. 2543
6.2 ภาษีซื้อจากการซื้อสินค้า เพื่อการส่งออก        กค 0706/7286
ลว. 30 ก.ค. 47
6.3 บริษัทในต่างประเทศได้ซื้อเครื่องจักรและได้นำเข้ามาให้บริษัทในไทยใช้ เมื่อจบโครงการจะต้องส่งเครื่องจักรคืน ภาษีซื้อจากการนำเข้าเครื่องจักร       กค 0706/6323
ลว. 6 ก.ค. 47
6.4 ใบเสร็จรับเงินศุลกากรระบุชื่อ เป็นผู้จ่ายเงินแต่ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรมา   ใฃ้ในกิจการของตนเอง                                                                                                                                                                                                                                  กค 0706/พ.1446ลว.21 กพ.49

ข้อแตกต่างระหว่าง ภาษีซื้อไม่ขอคืน กับ ภาษีซื่้อไม่ถึงกำหนด